11-18-2015, 02:04 PM
การจัดการวัชพืชเพื่อการผลิตถั่วเขียวคุณภาพ
คมสัน นครศรี, ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย, จรัญญา ปิ่นสุภา และทิพย์ดารุณี สิทธินาม
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5
คมสัน นครศรี, ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย, จรัญญา ปิ่นสุภา และทิพย์ดารุณี สิทธินาม
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5
การจัดการวัชพืชเพื่อการผลิตถั่วเขียวคุณภาพ วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ มี 16 กรรมวิธี ประกอบด้วย สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนวัชพืชงอก คือ pendimethalin, dimethanamid, butachlor, propisochlor, s-metolachlor, acetochlor, oxyfluorfen, sulfentrazone, oxadiazon, flumioxazin, imazapic, clomazone, metribuzin และ alachlor อัตรา 330, 108, 240,108, 240, 300, 24, 50, 150, 20, 20, 140, 140 และ 300 กรัมai/ไร่ ตามลำดับ เปรียบเทียบกับวิธีการกำจัดวัชพืชด้วยแรงงาน และวิธีไม่กำจัดวัชพืช ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนมีนาคม – กรกฎาคม 2554 ผลการทดลองพบว่า สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนวัชพืชงอกส่วนใหญ่ไม่เป็นพิษ และเป็นพิษเล็กน้อยต่อถั่วเขียว ยกเว้นสาร flumioxazin เป็นพิษปานกลาง ส่วน s-metolachlor และ clomazone เป็นพิษรุนแรง ส่วนประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชพบว่า สาร pendimethalin, s-metolachlor, oxyfluorfen, sunfentrazone, oxadiazon, flumioxazin, imazapic และ metribuzin สามารถควบคุมวัชพืชได้ดี วัชพืชที่พบได้แก่ หญ้านกสีชมพู (Echinochloa colona (L.) Link) ผักเบี้ยหิน (Trianthema portulacastrum L.) และหญ้ายาง (Euphorbia heterophylla L.) และการใช้สาร flumioxazin pendimethalin และ imazapic มีผลผลิตถั่วเขียวมากที่สุด 565.50, 549.75 และ 537.75 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ