04-22-2019, 03:08 PM
การผลิตและการประยุกต์ใช้ชีวภัณท์เชื้อราเขียวเมตาไรเซียมในการกำจัดด้วงแรด (Oryctes rhinoceros L.)
เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์, อิศเรส เทียนทัด, เมธาสิทธิ์ คนการ, อนุสรณ์ พงษ์มี, สมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี, ประภาพร ฉันทานุมัติ, ดารากร เผ่าชู, อุดมพร เสือมาก และภัสชญภณ หมื่นแจ้ง
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพร และสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์, อิศเรส เทียนทัด, เมธาสิทธิ์ คนการ, อนุสรณ์ พงษ์มี, สมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี, ประภาพร ฉันทานุมัติ, ดารากร เผ่าชู, อุดมพร เสือมาก และภัสชญภณ หมื่นแจ้ง
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพร และสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
ด้วงแรดเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของมะพร้าวและพืชตระกูลปาล์ม การใช้ราเขียวเมตาไรเซียม Metarhizium anisopliae สายพันธุ์ DOA-M5 เป็นวิธีการทางชีววิธีที่ช่วยควบคุมด้วงแรดได้ งานวิจัยนี้เริ่มดำเนินการเดือนมกราคม 2558 - ธันวาคม 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการผลิตราเขียวเมตาไรเซียมในรูปแบบชีวภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดด้วงแรด สะดวกต่อการใช้งานและมีราคาถูก โดยเน้นรูปแบบอัดเม็ดเพื่อลดการปลิวของเชื้อและปลอดภัยต่อผู้ใช้ ผลการศึกษาพบว่าชีวภัณฑ์ สูตรที่ 5 ที่มีส่วนผสมของ Pumice, ราเขียวรูปแบบเชื้อสด, น้ำมันพืช และน้ำนึ่งฆ่าเชื้อ มีความเหมาะสมสำหรับผลิตในรูปแบบอัดเม็ด เนื่องจากใช้ระยะเวลาในการผลิตสั้น และมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการทดสอบประสิทธิภาพชีวภัณฑ์เชื้อสดอัดเม็ด (สูตรที่ 5) ในสภาพกึ่งเรือนทดลองแนะนำให้ใช้ชีวภัณฑ์เชื้อสดอัดเม็ดที่อัตรา 200 กรัม ต่อพื้นที่กองกับดักที่ใช้วงบ่อซีเมนต์ ขนาดความจุ 0.24 ลูกบาศก์เมตร การทดสอบประสิทธิภาพชีวภัณฑ์ในพื้นที่ จ.นครปฐม และจ.สมุทรสงคราม จากจำนวนกองกับดักทั้งสิ้น 27 กอง พบค่าเฉลี่ยจำนวนหนอนด้วงแรดที่ลงในกองกับดักที่ใช้ชีวภัณฑ์เชื้อสดอัดเม็ดและเชื้อสดไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติที่ 48.12 และ 35.43 ตัวและพบหนอนด้วงแรดที่ติดเชื้อเมตาไรเซียมอยู่ที่ 87.07 และ 77.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ