01-17-2019, 10:55 AM
ความต้านทานของหนอนเจาะสมอฝ้าย, Helicoverpa armigera (Hübner) ต่อสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชบนพื้นที่ปลูกมะเขือเทศที่สำคัญ
ธีราทัย บุญญะประภา, พวงผกา อ่างมณี, สุภราดา สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง, สมศักดิ์ ศิริพลตั้งมั่น และสุชลวัจน์ ว่องไวลิขิต
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ธีราทัย บุญญะประภา, พวงผกา อ่างมณี, สุภราดา สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง, สมศักดิ์ ศิริพลตั้งมั่น และสุชลวัจน์ ว่องไวลิขิต
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การทดสอบความต้านทานของหนอนเจาะสมอฝ้าย, Helicoverpa armigera (Hübner) ต่อสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชบนพื้นที่ปลูกมะเขือเทศที่สำคัญ ดำเนินการเก็บตัวอย่างหนอนเจาะสมอฝ้ายในแปลงเกษตรกร อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ในเดือนมีนาคม 2560 นำมาเพาะเลี้ยงขยายในห้องปฏิบัติการ และทำการทดสอบตามกรรมวิธี ดังนี้ สารกำจัดแมลงแลมป์ดาไซฮาโลทริน 2.5% EC ที่ความเข้มข้น 6.25, 12.5, 25, 50, 75 และ 100 ppm สารกำจัดแมลงลูเฟนยูรอน 5% EC ที่ความเข้มข้น 12.5, 25 ,50 ,100, 150 และ 200 ppm สารกำจัดแมลงอีมาเม็กติน เบนโซเอต 1.92% EC ที่ความเข้มข้น 4.8, 9.6, 19.2, 38.4, 57.6 และ 76.8 ppm และสารกำจัดแมลงอินด๊อกซาคาร์บ 15% EC ที่ความเข้มข้น 28.13, 56.25, 112.5, 225, 337.5 และ 450 ppm พบว่าสารกำจัดแมลงแลมป์ดาไซฮาโลทริน 2.5% EC มีอัตราการตายของหนอนเจาะสมอฝ้าย ที่อยู่ในช่วง 5 - 67.5% และอัตราความต้านทานมากกว่า 10 เท่า ซึ่งอยู่ในระดับความต้านทานสูง สารแลมป์ดาไซฮาโลทริน 2.5% EC มีอัตราการตายของหนอนเจาะสมอฝ้าย ที่อยู่ในช่วง 5 - 67.5% และอัตราความต้านทานมากกว่า 10 เท่า ซึ่งอยู่ในระดับความต้านทานสูง สารลูเฟนยูรอน 5% EC และสารอินด๊อกซาคาร์บ 15% EC อัตราการตายของหนอนเจาะสมอฝ้ายอยู่ในช่วง 48.6 - 81.1% และ 25 - 100% ตามล าดับ มีอัตราความต้านทานอยู่ในช่วง 2 - 5 เท่า ซึ่งอยู่ในระดับปกติเท่ากัน ดังนั้นจึงควรมีการหมุนเวียนกลุ่มสารเพื่อป้องกันการพัฒนาระดับความต้านทานสูงขึ้นในสารกำจัดแมลงกลุ่มที่สร้างความต้านทานแล้ว และทำการสำรวจติดตามระดับความต้านทานของหนอนเจาะสมอฝ้ายต่อสารกำจัดแมลงกลุ่มที่อยู่ในระดับปกติและสารกลุ่มอื่นๆ ในปีถัดไป