การคัดแยกและศึกษาศักยภาพการก่อโรคในหนูศัตรูพืชของโปรโตซัวสกุล Isospora
#1
การคัดแยกและศึกษาศักยภาพการก่อโรคในหนูศัตรูพืชของโปรโตซัวสกุล Isospora (Apicomplexa: Eimeriidae) จากหนูศัตรูพืชสกุล Rattus และ Mus ที่พบในประเทศไทย
วิชาญ วรรธนะไกวัล, ปราสาททอง พรหมเกิด, สมเกียรติ กล้าแข็ง และทรงทัพ แก้วตา
ส านักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ผลการคัดแยกและศึกษาศักยภาพการก่อโรคในหนูศัตรูพืชของโปรโตซัวสกุล Isospora (Apicomplexa: Eimeriidae) จากหนูศัตรูพืชสกุล Rattus และ Mus ที่พบในประเทศไทย ระหว่างเดือนตุลาคม 2559 - กันยายน 2560 ดักหนูศัตรูพืชสกุล Rattus และ Mus ทั้งหมดได้ 105 ตัว เป็นหนูท้องขาว 57 ตัว (54% ของหนูที่ดักได้) และเป็นหนูหริ่ง 48 ตัว (46% ของหนูที่ดักได้) ในพื้นที่ทำการเกษตร 8 จังหวัด ในภาคกลางและภาคเหนือของประเทศไทย สามารถคัดแยกเชื้อค็อคซิเดียได้ทั้งหมด 35 ไอโซเลท (33% ของหนูที่ดักได้) นำมาทดลองศักยภาพในการก่อโรคกับหนูทดลอง 22 ไอโซเลท พบว่าเชื้อค็อคซิเดียที่สามารถทำให้หนูทดลองป่วยและตายได้ มีจำนวน 5 ไอโซเลท (23% ของเชื้อที่นำมาทดลอง) ได้แก่ Rr K11 01 (จ. ปทุมธานี), R. an Cm04 (อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่) และ Mus NKW04, Mus NKW05, MusNKW07 (จ.นครสวรรค์) ซึ่งเชื้อค็อคซิเดียที่สามารถทำให้หนูทดลองป่วยและตายได้ทั้ง 5 ไอโซเลท นั้น เป็นเชื้อโปรโตซัวสกุล Eimeria ทั้งหมด

ซึ่งการทดลองของงานวิจัยนี้ยังไม่สิ้นสุด ยังต้องทำการเก็บตัวอย่างหนูเพิ่ม นำมาคัดแยกเชื้อและทดลองศักยภาพในการก่อโรคกับหนูทดลอง ศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและลักษณะทางพันธุกรรมต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   117_2560.pdf (ขนาด: 276.14 KB / ดาวน์โหลด: 838)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม