การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตขมิ้นชันและไพลในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
#1
การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตขมิ้นชันและไพลในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ญาณิน สุปะมา, จุฑามาส ศรีสำราญ, แคทลิยา เอกอุ่น, จารุรัตน์ พุ่มประเสริฐ, ณัฐพร ฉันทศักดา และพรทิพย์ แพงจันทร์
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสกลนคร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์, กองวิจัยพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร  และกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตขมิ้นชันและไพลในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยวิธีทดสอบปลูกขมิ้นชันพันธุ์ตรัง 1 ปลูกไพลพันธุ์หยวก ร่วมกับเทคโนโลยีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร เปรียบเทียบกับวิธีเกษตรกรที่ใช้พันธุ์ และวิธีการเดิมของเกษตรกร ดำเนินการทดสอบระหว่างปี 2559 - 2560 การทดสอบขมิ้นชันดำเนินการในเกษตรกร 5 - 10 ราย พื้นที่จังหวัดขอนแก่น สกลนคร และกาฬสินธุ์ การทดสอบไพลเฉพาะพื้นที่เกษตรกรจังหวัดขอนแก่น จำนวน 7 - 13 ราย ผลการทดสอบการผลิตขมิ้นชัน ปี 2559 พบว่า วิธีเกษตรกรผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าวิธีทดสอบ 820 กิโลกรัมต่อไร่ ปริมาณเคอร์คูมินอยด์รวม 0.46 - 15.26% วิธีทดสอบ 12.3 - 31.3% โดยวิธีทดสอบมีปริมาณเคอร์คูมินอยด์รวมสูงกว่าวิธีเกษตรกร ร้อยละ 12.5 แม้ว่าผลผลิตวิธีเกษตรกร สูงกว่าวิธีทดสอบร้อยละ 25 แต่เกษตรกรกลับยอมรับและปรับเปลี่ยนมาปลูกพันธุ์ตามวิธีทดสอบ อย่างไรก็ตาม ปี 2560 พบว่าผลผลิตเฉลี่ยวิธีทดสอบสูงกว่าวิธีเกษตรกร 324 กิโลกรัมต่อไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 41 ส่วนผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์พบว่า ผลตอบแทนวิธีทดสอบสูงกว่าวิธีของเกษตรกร 167 - 5,293 บาทต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 แต่ต้นทุนวิธีทดสอบสูงกว่า 240 - 2,280 บาทต่อไร่ ทำให้สัดส่วนรายได้ต่อการลงทุนวิธีทดสอบมีแนวโน้มต่ำกว่าวิธีของเกษตรกรเล็กเล็ก แต่ทั้งสองวิธีมีความคุ้มค่าสามารถลงทุนได้ สำหรับการทดสอบการผลิตไพลพบว่า วิธีทดสอบผลผลิตสูงกว่าวิธีของเกษตรกรอย่างชัดเจน โดยได้ผลผลิตเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 469 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 36.9 เปอร์เซ็นต์น้ำมันหอมระเหยเพิ่มขึ้น 0.01 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 น้ำหนักน้ำมันหอมระเหยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.87 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7 ปริมาณน้ำมันหอมระเหยสูงกว่าวิธีเกษตรกร 1.3 ลิตรต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ส่วนผลวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์พบว่า วิธีทดสอบ มีผลตอบแทนสูงกว่าวิธีเกษตรกรอย่างชัดเจน 2,503 - 10,591 บาทต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.7 รวมถึงสัดส่วนรายได้ต่อการลงทุนวิธีทดสอบมีแนวโน้มสูงกว่าเล็กเล็กเช่นกัน อย่างไรก็ตามทั้งสองวิธีมีความคุ้มค่าสามารถลงทุนได้ เกษตรกรที่ร่วมทดสอบยอมรับขมิ้นชันพันธุ์ตรัง1 และไพลพันธุ์หยวกที่นำเข้าไปทดสอบ เนื่องจากมีการปรับตัวได้ดีในพื้นที่ มีปริมาณเคอร์คูมินอยด์รวม และน้ำมันหอมระเหยสูงกว่าวิธีของเกษตรกร แต่เกษตรกรส่วนใหญ่กลับไม่ยอมรับเทคโนโลยีที่ใช้ปุ๋ยและสารเคมีที่นำไปทดสอบ แต่มีแนวโน้มยอมรับการใช้ชีวภัณฑ์เพื่อลดปัญหาโรคเหี่ยว เนื่องจากเกษตรกรต้องการให้ผลผลิตปลอดภัย เพื่อการันตีคุณภาพผลผลิต และการสร้างความมั่นใจให้กับตลาดรับซื้อ ที่ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาล กลุ่มแปรรูปสมุนไพรเป็นยา ลูกประคบ และเครื่องสำอางค์


ไฟล์แนบ
.pdf   51_2560.pdf (ขนาด: 442.48 KB / ดาวน์โหลด: 1,057)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 4 ผู้เยี่ยมชม