09-11-2018, 01:44 PM
ประสิทธิภาพและสารสำคัญของน้ำมันหอมระเหยจากแมงลักป่าในการควบคุมวัชพืช
อัณศยา พรมมา, ศิริพร สอนท่าโก, ธัญชนก จงรักไทย, ธนิตา คำอำนวย, พรรณีกา อัตตนนท์, ศิริพร ซึงสนธิพร, คมสัน นครศรี, ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย, จรัญญา ปิ่นสุภา และวิไลวรรณ พรหมคำ
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักาาพืช และกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
อัณศยา พรมมา, ศิริพร สอนท่าโก, ธัญชนก จงรักไทย, ธนิตา คำอำนวย, พรรณีกา อัตตนนท์, ศิริพร ซึงสนธิพร, คมสัน นครศรี, ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย, จรัญญา ปิ่นสุภา และวิไลวรรณ พรหมคำ
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักาาพืช และกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
การทดสอบประสิทธิภาพและหากลุ่มสารสำคัญของน้ำมันหอมระเหยจากแมงลักป่าเพื่อใช้ควบคุมวัชพืช โดยสกัดที่ห้องปฏิบัติการาองกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และทดสอบประสิทธิภาพ ณ ห้องปฏิบัติการและเรือนทดลองของกลุ่มวิจัยวัชพืช ส่านักวิจัยพัฒนาการอารักาาพืช กรมวิชาการเกษตร ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 ถึงเดือนกันยายน 2559 โดยเก็บส่วนเหนือดินของแมงลักป่าระยะเจริญ ระยะออกดอก และต้นแห้ง จากจังหวัดกาญจนบุรี น่าตัวอย่างมาแยกส่วน ใบ (ต้นที่อยู่ในระยะเจริญ) ใบและดอก (ระยะออกดอก และต้นแห้ง) และลำต้น แบ่งตัวอย่างสดออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งนำไปสกัดน้ำมันหอมระเหยทันที และอีกส่วนนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม จนเหลือความชื้น 14 - 18% สกัดโดยวิธี Hydrodistillation พบว่าส่วนใบและดอกของทุกตัวอย่างให้ปริมาณน้ำมันหอมระเหยสูงกว่าส่วนอื่นๆ น้ำมันหอมระเหยจากใบและดอกของต้นแห้ง มีประสิทธิภาพในการยับยั้ง การงอกและการเจริญสูงสุด เมื่อศึกษาผลของน้ำมันหอมระเหยต่อวัชพืช 4 ชนิด ได้แก่ หญ้าข้าวนก (Echinochloa crus-galli (L.) P. Beauv.) ผักโขมหนาม (Amaranthus spinosus L.) ถั่วผี (Macroptilium lathyroides (L.) Urb.) และไมยราบเลื้อย (Mimosa diplotricha C. Wright ex Sauvalle) ในห้องปฏิบัติการพบว่า อัตราน้ำมันหอมระเหยเทียบเท่าตัวอย่างแมงลักป่า 100 กรัม (gE) สามารถยับยั้งการงอกและการเจริญาองพืชทดสอบได้สูงสุดมากกว่า 70% และการพ่นน้ำมันหอมระเหยแบบหลังพืชงอกในสภาพเรือนทดลองอัตรา 100 และ 200 gE ผสมสารจับใบ บนวัชพืช 5 ชนิด ได้แก่ หญ้าข้าวนก หญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium (L.) Willd.) ผักโขมหนาม ถั่วผี และไมยราบเลื้อย ที่ระยะ 2 - 3 ใบ พบว่าพืชที่ได้รับน้ำมันหอมระเหย ใบมีอาการฉ่ำน้ำ ใบและลำต้นเปลี่ยนเป็นสีขาว หรือน้ำตาล และแห้งตายในที่สุด น้ำมันหอมระเหยอัตรา 200 gE ทำให้พืชทดสอบทุกชนิด ตายมากว่า 70% หลังได้รับสาร 30 วัน เมื่อนำน้ำมันหอมระเหยไปตรวจหาชนิดสาร ด้วยวิธี GC-MS พบว่า มีเทอร์พีนอยด์เป็นกลุ่มสารสำคัญ ซึ่งมีสารมากกว่า 30 ชนิด และชนิดที่มีปริมาณสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ 1,8-cineole, sabinene และ trans-caryophyllene โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละพื้นที่ที่ได้จากโครมาโทแกรม เท่ากับ 24.44, 18.32 และ 8.45% ตามลำดับ