03-15-2017, 02:42 PM
การทดสอบเทคโนโลยีการใช้หัวเชื้ออาหารเหลวในการผลิตเห็ดหอมบนก้อนเพาะขนาดต่างๆ
ศิริพร หัสสรังสี, พัชราภรณ์ ลีลาภิรมย์กุล, ฉัตรสุดา เชิงอักษร, สุทธินี ลิขิตตระกูลรุ่ง และนันทินี ศรีจุมปา
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 และศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย
ศิริพร หัสสรังสี, พัชราภรณ์ ลีลาภิรมย์กุล, ฉัตรสุดา เชิงอักษร, สุทธินี ลิขิตตระกูลรุ่ง และนันทินี ศรีจุมปา
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 และศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย
การทดสอบเทคโนโลยีการใช้หัวเชื้ออาหารเหลวในการผลิตเห็ดหอมบนก้อนเพาะขนาดต่างๆ ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 ถึงเดือนกันยายน 2557 ในฟาร์มเพาะเห็ดหอมของเกษตรกรผู้ร่วมงานทดลอง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ทำการเพาะเห็ดหอม 3 รุ่น คือ 1) ตุลาคม 2556 2) มกราคม 2557 และ 3) มิถุนายนถึงกรกฎาคม 2557 โดยใช้หัวเชื้ออาหารเหลวและเมล็ดข้าวฟ่างปลูกเชื้อเห็ดลงก้อนวัสดุเพาะขนาด 300 500 และ 900 กรัม เส้นใยเห็ดหอมเดินเต็มก้อนวัสดุเพาะขนาดเล็กได้เร็วกว่าก้อนวัสดุเพาะขนาดใหญ่ หัวเชื้อเหลวเมื่อปลูกเชื้อลงบนก้อนวัสดุเพาะแล้ว เส้นใยโตช้ากว่าการใช้หัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่าง แต่เมื่อเจริญเต็มก้อนวัสดุแล้ว จะเริ่มเก็บผลผลิตและเก็บผลผลิตหมดได้เร็วกว่าก้อนวัสดุเพาะที่ใช้หัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่าง การผลิตเห็ดหอมบนก้อนวัสดุเพาะขนาด 300 500 และ 900 กรัม โดยใช้หัวเชื้อเหลวและหัวเชื้อข้าวฟ่าง มีต้นทุนการผลิต ก้อนวัสดุเพาะขนาด 300 กรัม ใช้หัวเชื้อเหลว สูงสุด (12.46 บาท/วัสดุเพาะ 1000 กรัม) การใช้ก้อนวัสดุเพาะที่ขนาดเล็กลง (300 และ 500 กรัม) สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการใช้ก้อนวัสดุเพาะขนาดปกติ (900 กรัม) ส่วนการใช้หัวเชื้ออาหารเหลว เพาะเห็ดหอมบนก้อนวัสดุเพาะขนาด 500 กรัม ในช่วงเวลาการเพาะทุกรุ่น ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการใช้ก้อนวัสดุเพาะขนาดปกติ ที่ใช้หัวเชื้อเหลวและหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่าง