ผลของวิธีการเก็บรักษาน้ำมันถั่วเหลืองต่อปริมาณสารไอโซฟลาโวน
#1
ผลของวิธีการเก็บรักษาน้ำมันถั่วเหลืองต่อปริมาณสารไอโซฟลาโวน
จารุวรรณ บางแวก และภัควิไล ยอดทอง
กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลผลิตการเกษตร 

          ถั่วเหลืองเป็นพืชที่นิยมนำมาบริโภค  เนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารสูง และมีสารสำคัญหลายชนิด ได้แก่ isoflavones, โปรตีน, phytic acid และ phytosterols โดยเฉพาะ isoflavones และเป็นพืชเศรษฐกิจที่ให้น้ำมันที่มีคุณภาพต่อสุขภาพ เพราะเป็นน้ำมันจากพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัว การทดลองนี้ทำการศึกษาหาสภาพและระยะเวลาในการเก็บรักษาที่เหมาะสม เพื่อคงปริมาณสารไอโซฟลาโวนในน้ำมันให้ลดลงช้าที่สุด โดยทำการศึกษาที่สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร วางแผนการทดลองแบบ Split plot in CRD จำนวน 4 ซ้ำ แบ่งเป็น 2 การทดลองย่อย ดังนี้ การทดลองย่อยที่ 1 เก็บรักษาเมล็ดถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ที่ 0, 2, 4 และ 6 เดือน ทุกเดือนนำเมล็ดถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 มาวิเคราะห์สาร Isoflavones ที่อุณหภูมิในการเก็บรักษา 3 ระดับ คือ ที่อุณหภูมิห้องอุณหภูมิ 25 และ 10 องศาเซลเซียส และการทดลองย่อยที่ 2 นำถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 มาสกัดน้ำมันด้วยเฮกเซน เก็บรักษาไว้ในขวด PET ที่อุณหภูมิ 25 10 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 12 เดือน ทุกเดือนนำน้ำมันวิเคราะห์ปริมาณสาร Isoflavone โดยอุณหภูมิในการเก็บรักษา 3 ระดับ คือ ที่อุณหภูมิห้องอุณหภูมิ 25 และ10 องศาเซลเซียส เป็น Main plot และระยะเวลาในการเก็บรักษาในระยะเวลา 12 เดือน ทุกเดือนนำน้ำมันมาสกัดและวิเคราะห์สาร Isoflavones  ซึ่งเมื่อทำการเก็บรักษาเมล็ดถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 เป็นเวลา 6 เดือน  พบว่าค่าวิเคราะห์ปริมาณสาร Isoflavones ไม่แตกต่างจากเมื่อเริ่มต้นเก็บรักษาที่ 10 25 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิห้องมากนัก ซึ่งมีค่าปริมาณสาร Isoflavones  55.4228   63.2275  และ 79.4493 µg/ml ซึ่งจากการวิเคราะห์จะพบสาร Isoflavones ชนิด Daidzin, Genistin, Daidzein  และ Genistein มากกว่าสาร Isoflavones  ชนิด Glycitin และ Glycitein และเมื่อทำการสกัดน้ำมันจากเมล็ดถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60  แล้วนำมาวิเคราะห์สาร Isoflavones พบว่าปริมาณสาร Genistein มีปริมาณสูงมากกว่าสารอื่น คือ 0.897 µg/ml รองลงมา คือ Genistin Daidzin  Daidzein Glycitin และ Glycitein ปริมาณ 0.406 0.366 0.364 0.216 และ 0.178 µg/ml ตามลำดับ และเมื่อนำน้ำมันไปเก็บรักษาในขวดแก้วขนาด 100 ml ที่สภาพอุณหภูมิ 10 25 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 12 เดือน พบว่าอุณหภูมิไม่มีผลต่อปริมาณสาร Isoflavones ทั้งหมด โดยเมื่อเก็บรักษาน้ำมันนานขึ้นในทุกสภาพปริมาณสาร Isoflavones ทุกชนิดมีปริมาณลดลง แต่จะสลายหมดไปหลังจากเก็บไว้นาน 8 เดือน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับสาร Isoflavones ทุกชนิด ซึ่งจะมีปริมาณลดลงเมื่อเก็บไว้นานขึ้น 


ไฟล์แนบ
.pdf   90_2557.pdf (ขนาด: 183.45 KB / ดาวน์โหลด: 1,148)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม