ทดสอบพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทนแล้งที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี
#1
ทดสอบพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทนแล้งที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี
ละเอียด ปั้นสุข, จันทนา ใจจิตร, เครือวัลย์ บุญเงิน, ศักดิ์ดา เสือประสงค์, อรัญญา ภู่วิไล, วันชัย ถนอมทรัพย์ และอดิศักดิ์ คำนวณศิลป์
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5

          ดำเนินการทดสอบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทนแล้ง ในพื้นที่ ต.ระบำ อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี ระหว่างปีพ.ศ. 2555 - 2557 เพื่อทดสอบพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับพื้นที่ประสบภัยแล้ง ร่วมกับเกษตรกร 10 รายๆ ละ    1 ไร่พื้นที่มีลักษณะโดยทั่วไปเป็นดินทรายปนร่วนมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 5 ปี 1,048 มิลลิเมตร/ปี เกษตรกรมักประสบภัยแล้งในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 2 กรรมวิธี 2 ซ้ำ ประกอบด้วยกรรมวิธีทดสอบ  ใช้พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์3 เปรียบเทียบกับกรรมวิธีเกษตรกรใช้พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ลูกผสมของบริษัท ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินทุกกรรมวิธี เริ่มปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้ง 10 ราย ช่วงกรกฎาคมและเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนตุลาคม -  พฤศจิกายน  มีปริมาณน้ำฝนตกทั้งปีรวมในปีพ.ศ. 2555 - 2557เท่ากับ  1,275.5  1958.71และ 1663.6  มิลลิเมตร  และมีปริมาณน้ำฝนรวมในช่วงปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปีพ.ศ. 2555 - 2557 เท่ากับ 757.08  919 และ 1,073 มิลลิเมตร ตามลำดับผลการทดลองพบว่า ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 3 ปี กรรมวิธีทดสอบ 1,006 กิโลกรัม/ไร่ กรรมวิธีเกษตรกรได้ผลผลิต 988 กิโลกรัม/ไร่ ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กรรมวิธีทดสอบสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 2 เปอร์เซ็นต์ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านเศรษฐศาสตร์พบว่า กรรมวิธีทดสอบ มีรายได้สุทธิเฉลี่ย 3,547 บาท/ไร่ และกรรมวิธีเกษตรกร 3,254 บาท/ไร่ กรรมวิธีทดสอบสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 9 เปอร์เซ็นต์ เมื่อประเมินความชอบพันธุ์ข้าวโพดนครสวรรค์3 ของเกษตรกรที่ร่วมทอสอบพบว่า ชอบมากที่สุด ชอบมาก และชอบ เท่ากับ 53.06  44.16 และ 2.78 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   69_2557.pdf (ขนาด: 160.05 KB / ดาวน์โหลด: 870)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม