วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดอาการเนื้อแก้วยางไหลภายในผลมังคุด
#1
วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดอาการเนื้อแก้วยางไหลภายในผลมังคุด
มาลัยพร เชื้อบัณฑิต, ชมภู จันที, สำเริง ช่างประเสริฐ, อภิรดี กอร์ปไพบูลย์ และสมโภชน์ น้อยจินดา
ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ พระนครเหนือ

          การหาความสัมพันธ์ของการเกิดเนื้อแก้วยางไหลกับการทำลายของเพลี้ยไฟ ดำเนินการในสวนมังคุดของเกษตรกร จำนวน 5 สวน ได้แก่ จังหวัดระยอง 2 สวน จังหวัดจันทบุรี 2 สวน และจังหวัดตราด 1 สวน โดยคัดเลือกมังคุดที่มีลักษณะการทำลายของเพลี้ยไฟ แตกต่างกัน แบ่งเป็น ผิวมัน ผิวลาย 1 ผิวลาย 2 ผิวลาย 3 และผิวลาย 4 ในช่วงต้นฤดู กลางฤดู และปลายฤดู จากนั้นผ่าดูเนื้อแก้วยางไหลพบว่า ลักษณะผิวของมังคุดมีความสัมพันธ์กับอาการเนื้อแก้วยางไหลภายในผลมังคุด เป็นไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ มังคุดที่ถูกเพลี้ยไฟทำลายผิวเปลือกมาก (ลาย 1 - 4) พบการเกิดอาการเนื้อแก้วยางไหลน้อยกว่ามังคุดที่ไม่ถูกเพลี้ยไฟทำลาย เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้ง 3 จังหวัด แตกต่างกันบ้างตามสภาพพื้นที่ของแต่ละจังหวัด การศึกษาจัดการสารควบคุมการเจริญเติบโตเพื่อลดอาการเนื้อแก้วยางไหลภายในผลพบว่า การพ่นสาร GA3 50 ppm + Blassinosteroid 2 ppm มีเปอร์เซ็นต์การเกิดอาการเนื้อแก้วน้อยที่สุดเฉลี่ย 19.80% และมีระดับความรุนแรงของอาการเนื้อแก้วน้อยที่สุดเฉลี่ย 1.25 คะแนน แต่ไม่แสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการพ่นน้ำเปล่า ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การเกิดอาการเนื้อแก้วเฉลี่ย 26.00% และมีระดับความรุนแรงของอาการเนื้อแก้วเฉลี่ย 1.39 คะแนน ส่วนการเกิดอาการยางไหลพบว่า การพ่นสาร GA3 50 ppm มีเปอร์เซ็นต์การเกิดอาการยางไหลน้อยที่สุดเฉลี่ย 14.80 % รองลงมาคือ การพ่นสาร GA3 50 ppm + Blassinosteroid 2 ppm มีเปอร์เซ็นต์การเกิดอาการยางไหลเฉลี่ย 16.20% ซึ่งทั้งสองกรรมวิธีนี้มีระดับความรุนแรงของอาการยางไหลน้อยที่สุดเฉลี่ย 1.23 คะแนน แต่ไม่แสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการพ่นน้ำเปล่า มีเปอร์เซ็นต์การเกิดอาการยางไหลเฉลี่ย 27.00% และมีระดับความรุนแรงของอาการยางไหลเฉลี่ย 1.44 คะแนน และการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสุกของผลมังคุดกับการเกิดอาการเนื้อแก้ว มังคุดที่มีอาการเนื้อแก้วเมื่อมีการสุกแก่เพิ่มมากขึ้น พบว่าเอนไซม์ฟีนิวอะลานีนแอมโมเนียไลเอส ในปริมาณใกล้เคียงกัน ส่วนมังคุดเนื้อปกติจะพบเอนไซม์ในปริมาณที่ลดลง ส่วนเอนไซม์เพอออกซิเดส และเอ็นไซม์ Cinnamy Alcohol Dehydrogenase ในมังคุดที่เป็นเนื้อแก้วจะมีปริมาณใกล้เคียงกันตลอดระยะการสุกของมังคุด ส่วนในมังคุดปกติจะพบว่าเอนไซม์ทั้ง 2 ชนิดมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นตามระยะการสุกแก


ไฟล์แนบ
.pdf   77_2558.pdf (ขนาด: 1.21 MB / ดาวน์โหลด: 1,150)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม