การปรับปรุงพันธุ์สับปะรด
#1
การปรับปรุงพันธุ์สับปะรด
สมบัติ ตงเต๊า

          การปรับปรุงพันธุ์สับปะรดเพื่อให้ได้ลักษณะดีเด่นเหมาะสมต่อการแปรรูปและ/หรือบริโภคผลสด ดำเนินการที่สถาบันวิจัยพืชสวน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุทัยธานี ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย และศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ระหว่างตุลาคม 2553 – กันยายน 2558 ประกอบด้วยการผสมพันธุ์ การคัดเลือกสายต้น และการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยมีขั้นตอนการคัดเลือก การเปรียบเทียบ และการทดสอบ โดยเพิ่มปริมาณหน่อพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสำหรับการเปรียบเทียบ และทดสอบพันธุ์สับปะรดเพื่อการบรรจุกระป๋องประกอบด้วยการทดสอบพันธุ์ลูกผสมรุ่น 1 สายพันธุ์ SWPV#34, SWPV#1 และ PVIR#70 เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ ศวพ. อุทัยธานี ศวพ.เพชรบุรี และ ศวส. จันทบุรี ตามลำดับ การคัดเลือกลูกผสมรุ่นที่ 2 ได้ 6 สายพันธุ์ และนำเข้าสู่ขั้นตอนการเปรียบเทียบพันธุ์ 7 สายพันธุ์ การผสมพันธุ์รุ่น 3 จำนวน 12 คู่ผสม โดย PB54001 มีเมล็ดมากสุด PB54006 งอกสูงสุด ลูกผสมที่ได้พบหนามหนามเฉพาะปลายใบ หรือหนามตลอดทั้งใบ ใบสีเขียว หรือสีม่วง การทดสอบสายตันปัตตาเวียพบว่า สายต้น 8/6 C4 เจริญเติบโตได้ดีที่ ศวพ. เพชรบุรี ส่วน ศวพ. อุทัยธานี และศวส. จันทบุรี พันธุ์ปัตตาเวียเจริญเติบโตดีที่สุด ส่วนการคัดเลือกสายต้นกลุ่ม Smooth cayenne ได้ 16 สายต้น เพื่อนำเข้าสู่การเปรียบเทียบพันธุ์ ด้านการผสมกลับเพื่อเพิ่มลักษณะดี และกำจัดการติดเมล็ด จากการคัดเลือกผสมกลับครั้งที่ 1 ได้สับปะรดที่มีคุณภาพดี 4 สายพันธุ์ ซึ่งนำข้าสู่ขั้นตอนการเปรียบเทียบพันธุ์ และสับปะรดที่มีลักษณะดีแต่ติดเมล็ดอีก 19 สายพันธุ์นำมาผสมกลับครั้งที่ 2 พบว่า PBB57005 มีจำนวนเมล็ดสูงสุด และทุกคู่ผสมมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงกว่า 70% ส่วนสับปะรดที่เหมาะสมสำหรับการบริโภคผลสดประกอบด้วยการทดสอบพันธุ์พบว่า ลูกผสมสายพันธุ์ TTPV#63, PNPV#61 และ SPPV#51 เจริญเติบโตดีในพื้นที่ ศวส. เชียงราย ศวพ. เพชรบุรี และศวส. จันทบุรี ตามลำดับ การคัดเลือกลูกผสมรุ่น 2 ได้ลูกผสมที่มีคุณภาพผลดี 23 สายพันธุ์ จึงนำเข้าสู่ขั้นตอนการเปรียบเทียบพันธุ์โดยใช้พันธุ์ตราดสีทอง สวี เพชรบุรี และ White jewel เป็นพันธุ์เปรียบเทียบพบว่า หลังปลูก 3 เดือนลูกผสมมีการเจริญเติบโตต่ำกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ 6 สายพันธุ์ การผสมพันธุ์สับปะรดรุ่น 3 จำนวน 16 คู่ผสม พบว่า PB54027 มีจำนวนเมล็ด และมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงสุด ลูกผสมที่ได้มีใบสีเขียว ม่วง หรือม่วง–เขียว และพบหนามเฉพาะปลายใบ หรือตลอดทั้งใบ ใบ การเปรียบเทียบสายต้นกลุ่ม Queen พันธุ์สวี ตราดสีทอง และภูเก็ต พบว่าสวีสายต้น 2, 6 และ 18 ตราดสีทองสายต้น 4 และ 20 และภูเก็ตสายต้น 3 และ 20 มีคุณภาพดีและเกิดอาการไส้สีน้ำตาลต่ำ การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยรังสีแกมมา พบต้นที่มีลักษณะเผือกในพันธุ์นางแลที่ได้รับรังสี 80 และ 100 Gy พันธุ์เพชรบุรีที่ได้รับ 60, 80 และ 100 Gy พบต้นให้ผลลักษณะคุณภาพดี 3, 3 และ 2 ต้นตามลำดับ และสวีที่ได้รับรังสี 20, 40 และ 60 Gy พบต้นให้ผลลักษณะคุณภาพดี 5, 7 และ 5 ต้นตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   70_2558.pdf (ขนาด: 990.44 KB / ดาวน์โหลด: 2,496)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม