โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทานตะวัน
#1
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทานตะวัน
ธำรง เชื้อกิตติศักดิ์, เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง, สมใจ โควสุรัตน์, ศิริวรรณ อำพันฉาย, จุไรรัตน์ กันภัย, อานนท์ มลิพันธ์, เสาวรี บำรุง, ปิยะรัตน์ จังพล, รัศมี สิมมา, กัญญรัตน์ จำปาทอง และอุไรพร บุญเพชร 
ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี, ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา และสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน

          โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทานตะวัน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสายพันธุ์ทานตะวันพันธุ์ผสมเปิดที่ให้ผลผลิตสูงใกล้เคียงกับพันธุ์ลูกผสม เมล็ดพันธุ์ราคาถูก สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกต่อได้ และเหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อสภาพอากาศที่แปรปรวนสูงกว่าพันธุ์ลูกผสม ผลการวิจัย ได้ปรับปรุงประชากรของทานตะวันพันธุ์เชียงใหม่ 1 ซึ่งเป็นพันธุ์ผสมเปิดที่มีอยู่แล้วให้มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงใกล้เคียงกับพันธุ์ลูกผสมทางการค้าทำการปรับปรุงประชากรจนถึงรอบที่ 4ได้ประชากรทานตะวันพันธุ์เชียงใหม่ 1 ที่ปรับปรุงแล้ว 1 ประชากร คัดเลือกสายพันธุ์แท้รอบที่ 1 จากประชากรดังกล่าว จำนวน 41 สายพันธุ์ นอกจากนี้ ได้สร้างฐานพันธุกรรมทานตะวันชนิดสกัดน้ำมัน 1 ประชากร น้ำพันธุ์ลูกผสมทางการค้าที่มีจำหน่ายมาประเมินผลผลิตพบว่า พันธุ์อาตูเอล ให้ผลผลิตสูงสุด 289 กก./ไร่ แต่ไม่แตกต่างกับพันธุ์จัมโบ้ และอะควาร่า 6 ที่ให้ผลผลิต 259 และ 246 กก./ไร่ จากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกทานตะวัน จังหวัดลพบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดนครสวรรค์ พบว่าเกษตรกรปลูกทานตะวันเป็นพืชรองจากข้าวโพดอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ปลูกเดือนกันยายน - พฤศจิกายน พันธุ์ปลูกทั้งหมดเป็นพันธุ์ลูกผสม อัตราเมล็ดพันธุ์ไร่ละ 0.8 - 2 กก. ราคาเมล็ดพันธุ์ กก. ละ 430 - 700 บาท คิดเป็นต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ 378 - 1,105 บาท/ไร่ ร้อยละ 60 - 64 มีการใส่ปุ๋ยร้อยละ 70 - 90 ไม่มีการกำจัดวัชพืชร้อยละ 98 - 100 ใช้รถเก็บเกี่ยว ผลผลิตเฉลี่ย ตั้งแต่ 79 - 267 กก./ไร่ ต้นทุนอยู่ระหว่าง 1,748 - 1,805 บาท/ไร่ ราคาขายอยู่ระหว่าง 17.50 - 18.85 บาท/กก. มีทั้งขาดทุนและกำไร เป็นข้อมูลที่นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจของเกษตรกร หรือผู้ประกอบการเกี่ยวกับทานตะวันต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   66_2558.pdf (ขนาด: 421.16 KB / ดาวน์โหลด: 4,544)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม