10-13-2016, 04:20 PM
พัฒนาเทคโนโลยีจัดการหลังการเก็บเกี่ยวลำไย
วิทยา อภัย, สมเพชร เจริญสุข, สุทธินี ลิขิตตระกูลรุ่ง, นิพัฒน์ สุขวิบูลย์, อุทัย นพคุณวงศ์, สนอง อมฤกษ์, สถิตย์พงศ์ รัตนคำ, ชัยวัฒน์ เผ่าสันทัดพาณิชย์, มานพ หาญเทวี และสนอง จรินทร
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1, ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมเชียงใหม่, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม และศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย
วิทยา อภัย, สมเพชร เจริญสุข, สุทธินี ลิขิตตระกูลรุ่ง, นิพัฒน์ สุขวิบูลย์, อุทัย นพคุณวงศ์, สนอง อมฤกษ์, สถิตย์พงศ์ รัตนคำ, ชัยวัฒน์ เผ่าสันทัดพาณิชย์, มานพ หาญเทวี และสนอง จรินทร
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1, ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมเชียงใหม่, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม และศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย
ลำไยเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย แต่เก็บรักษาได้เพียง 2 - 3 วัน เนื่องจากสีผิวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและเน่าเสีย การรมลำไยด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) สามารถยืดอายุการเก็บรักษาระหว่างส่งออกได้นาน 30 - 40 วัน แต่บ่อยครั้งที่พบปัญหาการตกค้างของ SO2 ในผลเกินค่ามาตรฐานกำหนดของสาธารณรัฐประชาชนจีนและมีบางประเทศไม่ยอมรับผลไม้ที่ผ่านการรมก๊าซ SO2 ทำให้เป็นข้อจำกัดในการส่งออกลำไยของไทย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 (สวพ.1) จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวลำไยเพื่อการส่งออกระหว่างปี 2554 - 2556 โดยวิจัยหาเทคโนโลยีใหม่ทดแทนการรมก๊าซ SO2 ผลการดำเนินงานได้วิจัยจนได้คำแนะนำลดการตกค้างของ SO2 เช่น ผลที่เปียกน้ำฝนควรแช่กรดเกลือ 1 เปอร์เซ็นต์ ผสมโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ 5% นาน 5 นาที พบว่าการตกค้างของ SO2 ต่ำกว่าการรมก๊าซ SO2 ปกติ การวิจัยหาเทคโนโลยีทดแทนการรมก๊าซ SO2 เพื่อยืดอายุเก็บรักษาลำไยพบว่า การแช่ผลในกรดไฮโดรคลอริก 6.4% นาน 5 นาที มีประสิทธิภาพสูงสุดทำให้เก็บรักษาลำไยที่ 2 - 5 เซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 85 - 90% ได้นาน 35 วัน มีการตกค้างต่ำและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผู้ประกอบการส่งออกและผู้บริโภคยอมรับร้อยละ 82 และ 80 ตามลำดับ คณะวิจัยจึงได้พัฒนาเครื่องต้นแบบแช่กรดไฮโดรคลอริกแทนแรงงานคนที่มีขีดความสามารถ 10 ตะกร้าพลาสติกต่อ 5 นาที ซึ่งผลงานวิจัยและพัฒนานี้ผู้ประกอบการส่งออกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการส่งออกลำไยได้ต่อไป