ขยายผลการใช้ชุดควบคุมโรคเหี่ยวแบคทีเรียของมันฝรั่งในแปลงเกษตรกรโดยชีววิธี
#1
ขยายผลการใช้ชุดควบคุมโรคเหี่ยวแบคทีเรียของมันฝรั่งในแปลงเกษตรกรโดยชีววิธี
วงศ์ บุญสืบสกุล, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์, รุ่งนภา คงสุวรรณ์, สุรีย์พร บัวอาจ และวิวัฒน์ ภานุอำไพ
กลุ่มงานบักเตรีวิทยา กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศบป. เชียงใหม่ อ.ฝาง จ. เชียงใหม่

          ได้ใช้เชื้อ DOA-WB4 ที่พัฒนาเป็นชุดสำเร็จ (Kit) ทดสอบการควบคุมโรคเหี่ยวในแปลงเกษตรกรพื้นที่ 300 ไร่ ระหว่างตุลาคม 2550 ถึงกันยายน 2551 ทำการทดลองการควบคุมโรคเหี่ยวแปลงเกษตรกรโดย คลุกเชื้อปฏิปักษ์กับหัวพันธุ์มันฝรั่งใช้เชื้อ 10(9) cfu ปริมาตร 50 ลิตร แล้วจึงนำไปปลูกในแปลงหรือพื้นที่ที่ตรวจพบเชื้อสาเหตุโรคเหี่ยวหรือเคยมีโรคนี้ระบาดมาก่อน แล้วรดเชื้อปฏิปักษ์โดยใช้เชื้อ 10(6) cfu ปริมาตรหลุมละ 5 ม.ล. จำนวน 2 ครั้ง เมื่อต้นมันฝรั่งอายุ 10 และ 25 วัน ตามลำดับ เปรียบเทียบการเกิดโรคกับแปลงของเกษตรกรแต่ละรายที่ไม่ได้ใช้เชื้อปฏิปักษ์พบว่า การใช้ชุดสำเร็จควบคุมโรคเหี่ยวของมันฝรั่งเชื้อ DOA-WB4 ในแปลงเกษตรกร 50 ราย พื้นที่ 300 ไร่ ใน 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ตาก เชียงราย ลำปาง ลำพูน และพระเยา พบว่า เชื้อ DOA-WB4 สามารถป้องกันการเกิดโรคเหี่ยวของมันฝรั่งได้ผลดีลดการเกิดโรคเหี่ยวได้ 0 - 80 % ปี 2552 พบว่า การใช้ชุดสำเร็จควบคุมโรคเหี่ยวของมันฝรั่งเชื้อ DOA-WB4 ในแปลงเกษตรกร 85 ราย พื้นที่ 1,200 ไร่ ใน 7 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ตาก เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา และหนองคาย พบว่า เชื้อ DOA-WB4 สามารถป้องกันการเกิดโรคเหี่ยวของมันฝรั่งได้ผลดีลดการเกิดโรคเหี่ยวได้ 0 - 80 % มีเกษตรกร 22 รายที่พบว่า การควบคุมโรคโดยใช้สำเร็จดังกล่าวไม่แตกต่างจากการไม่ใช้ซึ่งจากการได้ติดตามประเมินผลและสัมภาษณ์เกษตรกรพบว่า ไม่พบการระบาดของโรคเหี่ยวจึงไม่พบความแตกต่าง มีเกษตรกร 21 รายที่เห็นว่าเชื้อใช้เชื้อปฏิปักษ์ดังกล่าวไม่สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ เนื่องจากเกษตรกรใช้หัวพันธุ์ที่เป็นโรคและการเชื้อในอาหารนมได้ไเชื้อปฏิปักษ์ไม่มากพอที่จะนำไปใช้ควบคุมโรคเหี่ยวได้ซึ่งจะได้ศึกษาหาวิธีแก้ไขต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   1311_2552.pdf (ขนาด: 179.49 KB / ดาวน์โหลด: 770)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม