การศึกษาชนิด ชีววิทยา และประสิทธิภาพการกินของแมงมุมตัวห้ำต่อแมลงวันผลไม้ในสวนมะม่วง
#1
การศึกษาชนิด ชีววิทยา และประสิทธิภาพการกินของแมงมุมตัวห้ำต่อแมลงวันผลไม้ในสวนมะม่วง
วิภาดา วังศิลาบัตร, วิมลวรรณ โชติวงศ์, พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์, เกรียงไกร จำเริญมา, วิภาดา ปลอดครบุรี และสัญญาณี ศรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาชนิดแมงมุมในสวนมะม่วง โดยสำรวจและเก็บตัวอย่างแมงมุมจากสวนมะม่วงในเขตภาคกลางของประเทศ เช่น จังหวัดปทุมธานี ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี นครนายก นครปฐม เป็นต้น พบแมงมุม 17 วงศ์ 50 สกุล 66 ชนิด ดังนี้ วงศ์ Araneidae พบ 15 ชนิด คือ Araneus dehaani (Doleschall), A. inustus (L. Koch), A. mitificus (Simon), A. ventricosus (L. Koch), Araneus sp., Arachnura sp., Argiope catenulata (Doleschall), Cyclosa bifida (Doleschall), C. insulana (Costa), Eriovixia excelsa (Simon), Larinia sp., Neoscona melloteei (Simon), Poltys illepidus (C.L.Koch), Zygiella calyptrata (Workman) และ Z. nadleri Heimer วงศ์ Clubionidae พบ 4 ชนิด คือ Chiracanthium longtailen, Xu Chiracanthium sp., Clubiona kurilensis Boes.et.Str และ Kokaibanoides sp. วงศ์ Corinnidae พบ 1 ชนิด คือ Castianeira sp. วงศ์ Gnaphosidae พบ 1 ชนิด คือ Scotophaeus sp. วงศ์ Linyphiidae พบ 2 ชนิด คือ Hylyphantes graminicola (Sundevall) และ Lepthyphantes sp. วงศ์ Lycosidae พบ 2 ชนิด คือ Pardosa pseudoannulata (Boes et.Str) และ Pardosa sp. วงศ์ Oxyopidae พบ 2 ชนิด คือ Oxyopes lineatipes (C.L.Koch) และ O. javanus Thorell วงศ์ Philodromidae พบ 1 ชนิด คือ Tibellus sp. วงศ์ Pholcidae พบ 1 ชนิด คือ Spermophora senoculata (Duges) วงศ์ Pisauridae พบ 1 ชนิด คือ Pisaura sp. วงศ์ Salticidae พบ 13 ชนิด คือ Carrhotus xanthogramma (Latreille), Cosmophasis micans, Simon Epius flavobilineatus (Doleschall), Evacha flavocincta (C.L.Koch), Harmochirus sp., Hyllus diardi (Walckenaer), Marpissa sp., Myrmarachne plataleoides (O.P.-Cambridge), Myrmarachne sp., Phintella versicolor (C.L.Koch), P. vittata (C.L.Koch), Telamonia dimidiata (Simon) และ T. festiva (Thorell) วงศ์ Sparassidae พบ 1 ชนิด คือ Olios sp. วงศ์ Tetragnathidae พบ 8 ชนิด คือ Dyschiriognatha sp., Leucauge decorata (Blackwall), Meta sp., Tetragnatha javana (Thorell), T. maxillosa Thorell, T. squamata Karsch, Tylorida striata (Thorell) และ T. ventralis (Thorell) วงศ์ Theridiidae พบ 6 ชนิด คือ Achaearanea angulithorax (Boes.et.Str), Argyrodes fissifrons O.P.Cambridge, Chrysso sp., Theridion adamsoni Berland, T. chikunii Yaginuma และ T. mystaceum L.Koch วงศ์ Thomisidae พบ 6 ชนิด คือ Amyciaea lineatipes, Pickard Cambridge Misumenops sp., Oxytate parallela (Simon), Runcinia acuminata (Thorell), Thomisus sp. และ Xysticus sp. วงศ์ Uloboridae พบ 1 ชนิด คือ Philoponella sp. วงศ์ Zodariidae พบ 1 ชนิด คือ Mallinella sp.

          ส่วนการศึกษาอัตราการกินของแมงมุมชนิดต่างๆ ต่อแมลงวันผลไม้ Bactrocera dorsalis (Hendel) และ B. correcta (Bezzi) พบว่า เมื่อใช้เหยื่อ (prey) แมลงวันผลไม้ชนิด B. dorsalis เป็นอาหารพบว่า แมงมุม Araneus ventricosus, Argiope catenulata, Cyclosa bifida, Eriovixia excelsa, Neoscona melloteei, Poltys illepidus, Zygiella nadleri, Chiracanthium sp., Clubiona kurilensis, Scotophaeus sp., Hylyphantes graminicola, Lepthyphantes sp., Pardosa sp. และ Oxyopes lineatipes เพศเมีย Oxyopes lineatipes เพศผู้ Pisaura sp., Carrhotus xanthogramma, Evarcha flavocincta, Myrmarchne plataleoides, Phintella versicolor, Telamonia festiva, Tetragnatha maxillosa, T. squamata, Argyrodes fissifrons, Chysso sp., Coleosoma blandum, Theridion chikunii, Misumenops sp. Oxytate parallela, Runcinia acuminata, Xysticus sp. และ Philoponella sp. แมงมุมดังกล่าวข้างต้นมีอัตราการกินแมลงวันผลไม้ B. dorsalis เฉลี่ยต่อตัวต่อวันเท่ากับ 0.95, 1.27, 0.95, 1.3, 0.1, 0.9, 0.54, 1.3, 0.7, 1.15, 1.19, 1.0, 0.8, 7.3, 6.3, 0.9, 1.0, 1.3, 1.0, 1.0, 0.9, 1.04, 0.8, 0.2, 1.3, 0.5, 0.7, 1.1, 0.8, 0.9, 0.7 และ 0.78 ตัว ตามลำดับ แต่เมื่อให้อาหารเป็นแมลงวันผลไม้ B. correcta กับแมงมุม A. ventricosus, A. catenulata, E. excelsa, Z. nadleri, C. kurilensis, Castianeira sp., H. graminicola, Pardosa sp., O. lineatipes (เพศเมีย) O. lineatipes (เพศผู้) Spermophora senoculata, Pisaura sp., E. flavocincta, Hyllus diardi, M. plataleoides, Phintella versicolor, P. vittata, Telamonia dimidiata, T. festiva, Achaearanea angulithorax, T. chikunii, Misumenops sp., Oxytate parallela และ Philoponella sp. แมงมุมดังกล่าวมีอัตราการกินเฉลี่ยต่อตัวต่อวันเท่ากับ 1.0, 0.8, 0.5, 0.4, 0.4, 0.6, 0.64, 0.6, 3.17, 2.77, 0.6, 0.4, 1.48, 6.5, 0.7, 0.77, 1.0, 0.7, 0.75, 0.9, 0.6, 0.8, 0.6 และ 0.5 ตัว ตามลำดับ

          การศึกษาเปอร์เซ็นต์ส่วนประกอบ (percent composition) ของชนิดแมงมุมบนต้นมะม่วงและวัชพืชในพื้นที่บริเวณต้นมะม่วงบนต้นมะม่วงพบแมงมุมตาหกเหลี่ยม (Oxyopes lineatipes) 3 และ 4 เปอร์เซ็นต์ ส่วนบนวัชพืชในพื้นที่บริเวณต้นมะม่วงพบแมงมุมตาหกเหลี่ยม 76 และ 60 เปอร์เซ็นต์ของประชากรแมงมุมทั้งหมดที่สำรวจพบบนต้นมะม่วงและวัชพืชในพื้นที่บริเวณต้นมะม่วงของการสำรว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2548 ถึงสิงหาคม 2549 และพฤศจิกายน 2549 ถึงกันยายน 2550 ตามลำดับ ซึ่งนิเวศวัชพืชบริเวณใต้ต้นหรือรอบต้นมะม่วงเป็นนิเวศที่อยู่อาศัยหรือหลบซ่อน เมื่อมีการใช้สารปราบศัตรูพืชบนต้นมะม่วง และเป็นแหล่งที่สำคัญในการเพิ่มปริมาณแมงมุมชนิดที่สำคัญด้วย ประชากรแมงมุมตาหกเหลี่ยมจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นช่วงที่มะม่วงออกดอกจนสูงสุด เดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงติดผลหลังจากนั้นประชากรจะค่อยๆ ลดต่ำลงจนถึงเดือนกันยายน

          การศึกษาอัตราการกินของแมงมุมตาหกเหลี่ยมที่อยู่ในสภาวะที่ไม่อดอาหารและอดอาหารในความหนาแน่นของแมลงวันผลไม้ (Bactrocera dorsalis) ต่างกันพบว่า แมงมุมตัวอ่อน แมงมุมเพศเมียและแมงมุมเพศผู้มีแบบของการกินแมลงวันผลไม้เหมือนกัน คือ เมื่อความหนาแน่นของแมลงวันผลไม้มากขึ้น แมงมุมจะกินแมลงวันผลไม้เฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจนสูงถึงระดับหนึ่ง อัตราการกินเฉลี่ยต่อวันจะค่อยๆ ลดลง แมงมุมที่อยู่และไม่อยู่ในสภาวะอดอาหาร จะมีอัตราการกินแมลงวันผลไม้ใกล้เคียงกันมาก สำหรับแมงมุมที่ไม่อยู่ในสภาวะอดอาหารพบว่า แมงมุมตัวอ่อน แมงมุมเพศเมียและแมงมุมเพศผู้ มีอัตราการกินแมลงวันผลไม้สูงสุด เมื่อความหนาแน่นแมลงวันผลไม้ 14 13 และ 10 ตัวต่อวันต่อกล่อง ตามลำดับ โดยแมงมุมตัวอ่อน แมงมุมเพศเมียและแมงมุมเพศผู้ มีอัตราการกินเฉลี่ย 6.25 6.8 และ 5.27 ตัวต่อวัน ตามลำดับ สำหรับแมงมุมที่อยู่ในสภาวะอดอาหารพบว่า แมงมุมตัวอ่อน แมงมุมเพศเมียและแมงมุมเพศผู้ มีอัตราการกินแมลงวันผลไม้สูงสุด เมื่อใส่แมลงวันผลไม้ 14 15 และ 14 ตัวต่อวันต่อกล่อง ตามลำดับ โดยแมงมุมตัวอ่อน แมงมุมเพศเมียและแมงมุมเพศผู้ มีอัตราการกินแมลงวันผลไม้เฉลี่ย 6.8 7.0 และ 5.9 ตัวต่อวัน ตามลำดับ

          การศึกษาอัตราการกินแมลงวันผลไม้ในความหนาแน่นของแมงมุมตาหกเหลี่ยมแตกต่างกันพบว่า ถ้าความหนาแน่นของแมงมุมมากขึ้น อัตราการกินแมลงวันผลไม้ของแมงมุมจะลดลง

           การศึกษาปริมาณประชากรแมงมุมตาหกเหลี่ยมและแมงมุมทุกชนิดบริเวณวัชพืชใต้ต้นมะม่วงและริมท้องร่องในสวนมะม่วงที่ใช้และไม่ใช้สารฆ่าแมลงพบว่า ทั้งสวนที่ใช้และไม่ใช้สารฆ่าแมลงพบปริมาณประชากรแมงมุมบนวัชพืชบริเวณริมท้องร่องสูงกว่าใต้ต้นมะม่วง โดยเฉพาะสวนที่ใช้สารฆ่าแมลง ความแตกต่างระหว่างแมงมุมบนวัชพืชบริเวณริมท้องร่องจะสูงกว่าใต้ต้นมะม่วงมากกว่าสวนที่ไม่ใช้สารฆ่าแมลง


ไฟล์แนบ
.pdf   1136_2552.pdf (ขนาด: 318.18 KB / ดาวน์โหลด: 771)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม