การทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงและสารสกัดจากธรรมชาติป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในน้อยหน่า
#1
การทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงและสารสกัดจากธรรมชาติป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง Dysmicoccus sp. ในน้อยหน่า
พวงผกา อ่างมณี และสุเทพ สหายา
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในน้อยหน่า มีวัตถุประสงค์เพื่อหาชนิดและอัตราสารที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในน้อยหน่าซึ่งยังไม่เคยมีคำแนะนำมาก่อน ทำการทดลองที่แปลงเกษตรกร อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนสิงหาคม – กันยายน 2552 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสาร thiamethoxam (Actara 25 %WG), thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6 %ZC), thiamethoxam (Actara 25 %WG) + white oil (Vite oil 67 %EC) และ thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6 %ZC) + white oil (Vite oil 67 %EC) อัตรา 2, 15 , 2+50 และ 10+50 กรัมหรือมิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร การพ่นไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae (Weiser) อัตรา 5.0 x 107 ตัว/น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสาร พ่นสารตามกรรมวิธี 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ตรวจนับเพลี้ยแป้งทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยบนผลก่อนพ่นสารและหลังพ่นสาร 3, 5 และ 7 วัน โดยสุ่มนับผลน้อยหน่าจำนวน 10 ผล/ต้น ให้กระจายทั่วทั้งต้นตรวจนับเพลี้ยแป้งทั่วทั้งผลพบว่า การพ่นสาร thiamethoxam (Actara 25 %WG), thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6 %ZC), thiamethoxam (Actara 25 %WG) + white oil (Vite oil 67 %EC) และ thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia247ZC 14.1/10.6 %ZC) + white oil (Vite oil 67 %EC) มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง การพ่นไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae มีประสิทธิภาพปานกลางในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง และทุกกรรมวิธีที่พ่นสาร ไม่ก่อความเป็นพิษกับต้นและผลน้อยหน่า


ไฟล์แนบ
.pdf   1118_2552.pdf (ขนาด: 132.44 KB / ดาวน์โหลด: 374)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 5 ผู้เยี่ยมชม