08-04-2016, 10:14 AM
การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชขององุ่นนำเข้าจากประเทศชิลี
ชลธิชา รักใคร่, อุดร อุณหวุฒิ, สุรพล ยินอัศวพรรณ, นงพร มาอยู่ดี, ณัฏฐพร อุทัยมงคล, อดุลย์รัตน์ แคล้วคลาด และอลงกต โพธิ์ดี
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ชลธิชา รักใคร่, อุดร อุณหวุฒิ, สุรพล ยินอัศวพรรณ, นงพร มาอยู่ดี, ณัฏฐพร อุทัยมงคล, อดุลย์รัตน์ แคล้วคลาด และอลงกต โพธิ์ดี
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ประเทศชิลีเป็นแหล่งผลิตองุ่นใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากอิตาลีซึ่งมีผลผลิตในปีดังกล่าวปริมาณ 860,000 ตัน องุ่นที่ผลิตในชิลีมีทั้งหมด 35 สายพันธุ์ ผลผลิตทั้งหมดเป็นองุ่นไร้เมล็ดคิดเป็น 36.7% ขององุ่นไร้เมล็ดทั่วโลก ผลการสืบค้นข้อมูลศัตรูพืชจากเอกสารวิชาการและจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชพบว่า มีศัตรูพืชรวมทั้งสิ้นจำนวน 371 ชนิด เป็นแมลง 176 ชนิด ไร 10 ชนิด ไวรัส 33 ชนิด ไวรอยด์ 6 ชนิด แบคทีเรีย 4 ชนิด เชื้อรา 60 ชนิด ไส้เดือนฝอย 14 ชนิด ไฟโตพลาสมา 2 ชนิด และวัชพืช 66 ชนิด ผลการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชแล้วมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับมาตรการในการควบคุมการนำเข้าใหม่ กรณีที่เป็นแมลงศัตรูพืชกักกันที่มีความเสี่ยงสูงกำหนดให้รมยาด้วย Methyl bromide ที่ประเทศต้นทางก่อนการส่งออก หรือจะรมเมื่อสินค้ามาถึงประเทศปลายทางก่อนการนำเข้าก็ได้ กรณีเชื้อสาเหตุโรคพืชหลายชนิดนั้น เช่น โรค Pierce’s disease ที่เกิดจากเชื้อ Xylella fastidiosa ผลการประเมินความเสียงจะออกมาในระดับต่ำเพราะไม่ติดมากับผลสดที่นำเข้า และพบว่าโรคนี้อยู่ได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิต่ำ ดังนั้น องุ่นที่จะส่งออกมาประเทศไทยต้องเก็บรักษาที่โรงงานบรรจุเอาไว้ก่อนการส่งออก 1 - 2 วัน ที่อุณหภูมิ 1 - 3 องศาเซลเซียส และสำหรับวัชพืชทีมีรายงานการแพร่ระบาดในแปลงผลิตให้มีการจัดการในแปลงผลิตและให้มีการตรวจสอบก่อนการส่งออกทั้งนี้ในการนำเข้าผลสดต้องไม่มีกิ่งก้านและใบติดเข้ามาด้วย เมื่อสินค้าทั้งหมดมาถึงประเทศไทยจะตรวจสอบเอกสารนำเข้าก่อนและจะสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจสอบศัตรูพืชหากไม่พบจึงจะอนุญาตให้นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยได้