08-03-2016, 02:57 PM
พัฒนาสูตรสำเร็จแบคทีเรีย Bacillus subtilis ควบคุมโรคเหี่ยวในขิง
ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, รัศมี ฐิติเกียรติพงศ์ และบุษราคัม อุดมศักดิ์
ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, รัศมี ฐิติเกียรติพงศ์ และบุษราคัม อุดมศักดิ์
การเตรียมผงเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis ดินรากยาสูบ no. 4 โดยเพิ่มปริมาณ B. subtilis ดินรากยาสูบ no. 4 บนอาหารแข็ง Tryptic Soy Agar และ บนอาหารเหลว Tryptic Soy Broth ผสม magnesium sulfate ความเข้มข้น 0.1 M, methylcellulose ความเข้มข้น 2.5 % และผง talcum 1:4 (V:W) ได้ปริมาณแบคทีเรียในผงเชื้อ คือ 1.1 x 10(10) และ 0.7 x 10(10) CFU/กรัม ตามลำดับ นำผงเชื้อ B. subtilis ดินรากยาสูบ no. 4 ที่ได้เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องและที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส มาตรวจสอบการมีชีวิตของเชื้อ B. subtilis เป็นระยะเวลา 15 เดือน พบว่า ผงเชื้อที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องมีชีวิตอยู่รอดได้ 12 เดือน โดยปริมาณเชื้อแบคทีเรีย ในเดือนที่ 12 เหลือเพียง 1.0 x 10(2) CFU/กรัม ในขณะที่ผงเชื้อที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ยังคงมีชีวิตอยู่รอดได้ถึง 15 เดือนโดยปริมาณเชื้อแบคทีเรียเหลือ 4.3 x 10(7) CFU/กรัม ในเดือนที่ 15 นำผงเชื้อ B. subtilis ดินรากยาสูบ no. 4 ที่ผลิตได้ไปทดสอบประสิทธิภาพของผงเชื้อ B. subtilis ในการควบคุมโรคเหี่ยวของขิงในเรือนทดลองพบว่า สัปดาห์ที่ 7 หลังการปลูกขิง ผงเชื้อมีประสิทธิภาพของในการควบคุมโรคเหี่ยว 60 % โดยมีปริมาณของเชื้อ B. subtilis 3.5 x 10(5) CFU/ดิน 1 กรัม นำผงเชื้อไปทดสอบประสิทธิภาพในในสภาพแปลงทดลองที่ศูนย์บริการวิชาการและปัจจัยการผลิตห้างฉัตร จังหวัดลำปาง โดยวางแผนการทดลอง RCB 3 กรรมวิธี 4 ซ้ำ โดยทำการทดลอง 2 ปี (2550 - 2551) พบว่า ผงเชื้อ B. subtilis ดินรากยาสูบ no. 4 มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคเหี่ยวในแปลงที่มีการระบาดของโรคเหี่ยวของขิง ในปีแรกสามารถควบคุมโรคเหี่ยวได้ 30 - 37 % และ 67.5 - 72.5% ในปีที่สอง