07-01-2016, 03:17 PM
วิจัยการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมเพื่อให้ได้คุณภาพและสารสำคัญสูงในพริกไทย 1
สานิตย์ สุขสวัสดิ์ และแสงมณี ชิงดวง
สานิตย์ สุขสวัสดิ์ และแสงมณี ชิงดวง
การศึกษาการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมเพื่อให้ได้คุณภาพและสารสำคัญสูงในพริกไทย ได้ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ต.ตะปอน อ.ขลุง จ.จันทบุรี และศูนย์พัฒนาไม้ผลเศรษฐกิจภาคตะวันออก อ.ขลุง จ.จันทบุรี ตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2549 – กันยายน 2551 โดยการวางแผนการทดลองแบบ RCB มี 8 กรรมวิธี จำนวน 3 ซ้ำ คือ กรรมวิธีที่ 1 พริกไทยพันธุ์ซาราวัคใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เก็บเกี่ยวอายุ 6 เดือน กรรมวิธีที่ 2 พริกไทย พันธุ์ซาราวัค ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ + ปุ๋ยเคมี เก็บเกี่ยวอายุ 6 เดือน กรรมวิธีที่ 3 พริกไทยพันธุ์ซาราวัค ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เก็บเกี่ยวอายุ 7 เดือน กรรมวิธีที่ 4 พริกไทยพันธุ์ซาราวัค ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ + ปุ๋ยเคมี เก็บเกี่ยว อายุ 7 เดือน กรรมวิธีที่ 5 พริกไทยพันธุ์ซีลอน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เก็บเกี่ยว อายุ 6 เดือน กรรมวิธีที่ 6 พริกไทยพันธุ์ซีลอน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ + ปุ๋ยเคมี เก็บเกี่ยว อายุ 6 เดือน กรรมวิธีที่ 7 พริกไทยพันธุ์ซีลอน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เก็บเกี่ยว อายุ 7 เดือน และกรรมวิธีที่ 8 พริกไทยพันธุ์ซีลอนซีลอน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ + ปุ๋ยเคมี เก็บเกี่ยว อายุ 7 เดือน เมื่อถึงกำหนด 6 เดือน และ 7 เดือน ทำการเก็บเกี่ยวพริกไทยตัวอย่างละ 2 กิโลกรัม มาสุ่มแล้วชั่งน้ำหนักตัวอย่างละ 2 ตัวอย่าง แล้วทำเป็นพริกไทยดำส่งวิเคราะห์หาน้ำมันหอมระเหย (pepper volatile oils) ที่ห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ พบว่าทุกกรรมวิธีให้น้ำมันหอมระเหยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ซึ่งกรรมวิธีที่ 6 การใช้พริกไทยพันธุ์ซีลอนใส่ปุ๋ยอินทรีย์ + ปุ๋ยเคมีเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 6 เดือน ให้น้ำมันหอมระเหยสูงสุดคือ 2.80% และการใช้พริกไทยพันธุ์ซาราวัคก็เช่นกัน พบว่ากรรมวิธีที่ 2 ใช้พริกไทยพันธุ์ซาราวัค ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ + ปุ๋ยเคมีเก็บเกี่ยวอายุ 6 เดือน ให้น้ำมันหอมระเหยสูงสุด คือ 1.13%