พัฒนาเครื่องอบแห้งลำไย
#1
พัฒนาเครื่องอบแห้งลำไย
พิมล วุฒิสินธ์, ชูศักดิ์ ชวประดิษฐ์, สุเทพ กสิกรรม, พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์, เวียง อากรชี, ตัญญู กองช่าง, สุภัทร หนูสวัสดิ์
กลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม

          โครงการพัฒนาเครื่องอบแห้งลำไยประกอบด้วย 3 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 พัฒนาเครื่องอบแห้งลำไยเนื้อแบบต่อเนื่อง ได้ต้นแบบเครื่องอบแห้งลำไยเนื้อที่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องขนาดความจุ 1000 กก. ผลลำไยพร้อมด้วยเทคโนโลยีการอบแห้งที่ลดต้นทุนด้านเชื้อเพลิง โดยใช้ชุดให้กำเนิดคว่ทร้อนสำหรับอบแห้งแบบอินฟราเรด ใช้แก๊สหุงต้มเป็นเชื้อเพลิง อีกทั้งยังลดระยะเวลาในการอบแห้งลำไยเหลือประมาณ 7.5 ชม. ด้วยการแบ่งเป็นห้องอบแห้งอุณหภูมิสูงใช้เวลาอบประมาณ 1.5 - 2 ชม. ต่อจากนั้นอบต่อในห้องอบอุณหภูมิต่ำจนแห้ง พบว่า ลำไยเนื้ออบแห้งที่ได้มีคุณภาพดีเป็นที่พอใจของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต กิจกรรมที่ 2 พัฒนาเทคโนโลยีการอบแห้งลำไยเนื้อแบบชาวบ้านได้นำรูปแบบและเทคโนโลยีการอบแห้งลำไยเนื้อ รวมทั้งชุดกำเนิดความร้อนแบบเชื้อเพลิงชีวมวลและเผยแพร่แล้วโดยสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ให้เกษตรกรนำไปปรับใช้แทนเครื่องอบแห้งแบบเดิมของเกษตรกรซึ่งมีปัญหาทั้งด้านการกระจายลมร้อน ปริมาณลมและแหล่งกำเนิดความร้อน ทำให้ประสิทธิภาพต่ำมีความยุ่งยากในการปฏิบัติงาน โดยใช้วัสดุในการสร้างที่หาได้ง่ายและราคาต้นทุนต่ำในท้องถิ่น เกษตรกรสามารถสร้างได้เอง พบว่าการทดสอบในพื้นที่เกษตรมีความพอใจและลำไยเนื้ออบแห้งมีคุรภาพดี กิจกรรมที่ 3 พัฒนาชุดคัดแยกลำไยก่อนและหลังการอบแห้งให้ได้มาตรฐาน เป็นการคัดขนาดลำไยก่อนและหลังการอบแห้ง เพื่อการซื้อขายทำความสะอาด โดยทำการศึกษาเครื่องคัดขนาดลำไยที่ยอมรับของเกษตรกรและผู้ซื้อในปัจจุบัน เป็นแบบตะแกรงคัดเป็นทรงกระบอกวางซ้อนกัน 4 ชั้น ได้ทำการทดสอบหาความเหมาะสมของอัตราการป้อนกับพื้นที่และความเร็วรอบของตะแกรงคัด พบว่า พื้นที่ตะแกรงคัด 1.42 ตร.ม. ความเร็วรอบ 12 รอบ/นาที ความเร็วเชิงเส้น 14.21 ม./นาที ควรจะคัดในอัตราการป้อนไม่เกิน 1200 กก./ชม. สำหรับการคัดลำไยผลสดและไม่เกิน 900 กก./ชม. สำหรับลำไยผลแห้งทั้งเปลือกจะได้เปอร์เซ็นต์การปนคละของแต่ละเกรดไม่เกิน 10 % ตามมาตรฐาน มกอช. 1-2546


ไฟล์แนบ
.pdf   1100_2551.pdf (ขนาด: 731.93 KB / ดาวน์โหลด: 2,154)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม