การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ปรับปรุงดินก่อนปลูกเพื่อผลิตงาในสภาพไร่ระบบอินทรีย์และระบบเคมี
#1
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ปรับปรุงดินก่อนปลูกเพื่อผลิตงาในสภาพไร่ระบบอินทรีย์และระบบเคมี
พรพรรณ สุทธิแย้ม, อรอนงค์ วรรณวงษ์, รวีวรรณ เชื้อกิตติศักดิ์, บุญญา อนุสรณ์รัชดา, อุดม วงศ์ชนะภัย, อำไพ ประเสริฐสุข นาตยา จันทร์ส่อง สิรี สุวรรณเขตนิคม, วิไลศรี ลิมปพยอม, ยสิศร์ อินทรสถิตย์, วิมลรัตน์ ดำขำ และนงนุช เดือนดาว

          เพื่อศึกษาชนิดของปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสมในปรับปรุงดินก่อนปลูกงาอินทรีย์ในสภาพไร่ (ปลูกในเดือนก.ค. - ส.ค.) จึงทำการทดลองโดยวางแผนการทดลองแบบ Split plot design 4 ซ้ำ main plot คือ ระบบการผลิต 2 ระบบได้แก่ อินทรีย์และเคมี sub plot คือ ชนิดของปุ๋ยอินทรีย์ 4 ระดับ ได้แก่ 1) ปุ๋ยพืชสด (โสนอัฟริกันที่ ศวร.เชียงใหม่ ถั่วพุ่มที่ศวร.อุบลราชธานี ศบป.สุโขทัย ศวส.กาญจนบุรี และศวส.เพชรบุรี โดยหว่านเมล็ด 5 กก./ไร่) 2) ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ (โบกาชิ) 150 กก./ไร่ 3) ปุ๋ยคอก 1,000 กก./ไร่ และ 4) ไม่ปรับปรุงดิน กรรมวิธีที่ 1-3 ไถกลบก่อนปลูก 15 วัน กรรมวิธีอินทรีย์ ใช้น้ำหมักจากผลไม้พ่นควบคู่กับน้ำหมักสมุนไพร ทุก 7 วัน ส่วนระบบเคมี ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 25 กก./ไร่ และพ่นสารฆ่าแมลงตามความจำเป็น โดยแปลงทั้ง 2 ระบบอยู่ห่างกันควบคุมวัชพืชโดยการคลุมฟางทั้ง 2 ระบบ และใช้จอบในครั้งที่ 2 แปลงอินทรีย์ทำในแปลงที่งดเว้นการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีมาแล้วอย่างน้อย 1 ปีใน 5 สถานที่ ระหว่างปี 2549 - 2551 บันทึกข้อมูลผลผลิต องค์ประกอบผลผลิตคุณภาพผลผลิต คุณสมบัติของดิน ต้นทุนการผลิต ผลการทดลองพบว่า ปุ๋ยพืชสด (โสนอัฟริกันหรือถั่วพุ่ม) อัตราเมล็ด 5 กก./ไร่ ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ (โบกาชิ) อัตรา 150 กก./ไร่ และปุ๋ยคอก อัตรา 1 ตัน/ไร่ เหมาะสมที่จะใช้ปรับปรุงดินก่อนปลูกงาในระบบอินทรีย์ สภาพไร่ โดยให้ผลผลิตเมล็ดงาไม่แตกต่างกันในแต่ละสถานที่ ทั้ง 4 สถานที่คือ ระบบอินทรีย์ที่ศวร.เชียงใหม่ (งาขาวอุบลราชธานี 2) ให้ผลผลิต 176.7 145.2 และ 151.6 กก./ไร่ ที่ศวร.อุบลราชธานี (งาแดงอุบลราชธานี 1) ผลผลิต 129 177 และ 189 กก./ไร่ ที่ศบป.สุโขทัย (งาดำอุบลราชธานี 3) ผลผลิต 111.8 121.4 และ 115.5 กก./ไร่ และที่ ศวส.กาญจนบุรี (งาขาวอุบลราชธานี 2) ผลผลิต 206 209 และ 205 กก./ไร่ ตามลำดับ ผลผลิตไม่แตกต่างทางสถิติจากระบบเคมี เมล็ดงาให้%น้ำมัน โปรตีน และกรดไขมันไม่อิ่มตัวใกล้เคียงกับระบบเคมีในทุกสถานที่ เว้นแต่ที่ศบป.สุโขทัย ซึ่งระบบอินทรีย์ให้%น้ำมันสูงกว่าระบบเคมี นอกจากนี้ให้ผลในการปรับปรุงดิน โดยเพิ่มอินทรียวัตถุ ปรับ pH ของดินให้เป็นกลาง และปรับธาตุอาหารที่จำเป็นให้อยู่ในระดับเหมาะสม รวมทั้งเพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน และปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยหมักจุลินทรีย์จะให้ผลกำไรสุทธิ (ผลต่างของรายได้และต้นทุนที่ต่างกัน) ที่สูงกว่า


ไฟล์แนบ
.pdf   999_2551.pdf (ขนาด: 928.85 KB / ดาวน์โหลด: 510)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม