ความถี่ของการใช้น้ำหมักชีวภาพในการผลิตงาในสภาพนาอินทรีย์
#1
ความถี่ของการใช้น้ำหมักชีวภาพในการผลิตงาในสภาพนาอินทรีย์
บุญเหลือ ศรีมุงคุณ, พรพรรณ สุทธิแย้ม, อารีรัตน์ พระเพชร, บุญญา อนุสรณ์รัชดา, ประสงค์ วงศ์ชนะภัย, นาตยา จันทร์ส่อง, สิรี สุวรรณเขตนิคม, วิไลศรี ลิมปพยอม, ยสิศร์ อินทรสถิตย์, วิมลรัตน์ ดำขำ และนงนุช เดือนดาว

          เพื่อศึกษาความถี่ของการใช้น้ำหมักชีวภาพที่เหมาะสมในการผลิตงาอินทรีย์ในสภาพนา จึงทำการทดลองโดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี คือ 1) พ่นน้ำหมักผลไม้ทุก 3 วัน 2) พ่นน้ำหมักผลไม้ทุก 7 วัน 3) พ่นน้ำหมักปลา (หรือหอยเชอรี่) ทุก 3 วัน 4) พ่นน้ำหมักปลา ทุก 7 วัน และ 5) ไม่ใช้น้ำหมักใดๆ ก่อนปลูกปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ (โบกาชิ) 150 กก./ไร่ ไถกลบก่อนปลูก 15 วันทุกกรรมวิธี กรรมวิธีที่ใช้น้ำหมักพ่นน้ำหมักสมุนไพรควบคู่กัน ในอัตราส่วนต่อน้ำเท่าๆ กัน คือ 1: 200 เริ่มพ่นเมื่ออายุ 10 วันหลังงอก และหยุดเมื่ออายุ 70 วันหลังงอก ทดลองใน 4 สถานที่ ได้แก่ ศวร.เชียงใหม่ ศวร.อุบลราชธานี ศบป.สุโขทัย และศวส.เพชรบุรี ระหว่างปี 2549-2551 โดยใช้แปลงที่เว้นจากการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี และใช้แปลงเดิมทุกปี ปลูกงาในเดือนก.พ. บันทึกข้อมูลผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต คุณภาพผลผลิต โรคและแมลงศัตรู และต้นทุนการผลิต ผลการทดลองพบว่าทั้ง 4 สถานที่ การใช้น้ำหมักผลไม้และปลาทุก 7 วันให้ผลผลิตสูงโดยที่ศวร.ชม. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 55.0 และ 80.1 กก./ไร่ ส่วนที่ศวร.อุบลฯ เฉลี่ย 142.1 และ 133.5 กก./ไร่ ที่ ศบป.สุโขทัย เฉลี่ย 196.3 และ 199.0 กก./ไร่ และที่ศวร.เพชรบุรี ผลผลิต 73.8 และ 63.6 กก./ไร่ เมื่อใช้น้ำหมักผลไม้ทุก 7 วัน และน้ำหมักปลาทุก 7 วันตามลำดับ และให้ผลในการป้องกันการเกิดโรคยอดฝอยได้บ้าง โดยไม่พบมากนักแต่ยังไม่มีผลป้องกันโรคไหม้ดำ (Ralstonia solanacearum) เพราะการระบาดของโรคขึ้นอยู่กับสภาพฝนฟ้าอากาศมากกว่า ส่วนด้านแมลงศัตรูสามารถป้องกันได้ดี ไม่มีปัญหาทำให้สูญเสียผลผลิต และยังให้ %น้ำมัน และโปรตีนในเมล็ดงาสูงกว่าไม่ใช้น้ำหมัก (ให้ % น้ำมัน 31.6% และโปรตีน 21.8% ที่ศวร.อุบลราชธานี) รวมทั้งให้ผลกำไรสุทธิสูงกว่าการพ่นน้ำหมักทุก 3 วัน


ไฟล์แนบ
.pdf   1001_2551.pdf (ขนาด: 928.44 KB / ดาวน์โหลด: 572)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม