วิจัยและพัฒนาสารจากแมงลักป่าเพื่อป้องกันกำจัดวัชพืช
#1
วิจัยและพัฒนาสารจากแมงลักป่าเพื่อป้องกันกำจัดวัชพืช :. III. ศึกษาอัตราของสารสกัดจากแมงลักป่าที่เหมาะสมในการควบคุมวัชพืชก่อนและหลังพืชและวัชพืชงอก
ชอุ่ม เปรมัษเฐียร และศิริพร ซึงสนธิพร
กรมวิชาการเกษตร

          การหาอัตราของสารสกัดจากแมงลักป่าที่เหมาะสมเพื่อควบคุมวัชพืชและไม่เป็นพิษต่อพืชปลูก โดยนำสารสกัดจากแมงลักป่า 3 อัตราคือ 1:3 1:4 และ 1:5 (แมงลักป่าสด:น้ำ) พ่นให้แก่พืชที่นิยมบริโภค ได้แก่ ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา กระเจี๊ยบ แตงกวา พริก ผักกาดขาว ผักคะน้า กวางตุ้ง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดฝักอ่อน และวัชพืชได้แก่ ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ ผักขมหนาม ผักขมไม่มีหนาม หญ้าปากควาย และหญ้าข้าวนกเพื่อนำไปพัฒนาใช้ในภาคสนามจึงพ่นสารสกัด 2 แบบ คือ 1. แบบก่อนพืชและวัชพืชงอกและ 2. แบบหลังพืชและวัชพืชงอกนั้น พบว่า จากการพ่นสารสกัดแบบก่อนพืชและวัชพืชงอกเมื่อวัดการเจริญเติบโตของพืชและวัชพืชทุกๆ สัปดาห์เป็นเวลา 4 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดพบว่า การพ่นสารสกัดแมงลักป่าแบบก่อนพืชและวัชพืชงอกนั้นที่ 7 วัน หลังการพ่นสารสกัดฯความสูงของพืชปลูกลดลงประมาณ 5% และวัชพืชผักโขมหนามเมื่อได้รับสารสกัดอัตรา 1:3 มีความสูงลดลง 10% ของพืชที่ไม่ได้รับสารฯ และที่ 2 สัปดาห์หลังจากการพ่นสารสกัดจากแมงลักป่าพืชและวัชพืชเหล่านี้จะมีความสูงปกติ ส่วนน้ำหนักแห้งของพืชและวัชพืชที่ 4 สัปดาห์หลังได้รับสารสารสกัดฯ ผักเบี้ยหิน เมื่อได้รับสารสกัดอัตรา 1:3 มีน้ำหนักแห้งลดลง 15% ของพืชที่ไม่ได้รับสาร และจากการพ่นสารสกัดแบบหลังพืชและวัชพืชงอกเมื่อวัดการเจริญเติบโตของ พืชและวัชพืชทุกสัปดาห์เป็นเวลา 1 - 4 สัปดาห์หลังพ่นสารสกัดฯพบว่า สารสกัดที่พ่นแบบหลังวัชพืชงอกมีผลต่อความสูงของพืชและวัชพืชแต่ละชนิดแตกต่างกันและผลกระทบที่มีต่อพืชบางชนิดนานถึง 4 สัปดาห์แต่พืชบางชนิดจะได้รับผลกระทบในระยะ 1 - 2 สัปดาห์หลังพ่นสารหลังจากนั้นการเจริญเติบโตจะดีขึ้น
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม