05-19-2016, 04:05 PM
ศึกษาประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงกลุ่มต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก (Diamond back moth); Plutella xylostella Linnaeus ด้วยวิธีการพ่นสารแบบน้ำน้อย
สุภางคนา ถิรวุธ, สิริกัญญา ขุนวิเศษ, วรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูร, สุชาดา สุพรศิลป์, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
สุภางคนา ถิรวุธ, สิริกัญญา ขุนวิเศษ, วรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูร, สุชาดา สุพรศิลป์, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ทำการศึกษาประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงกลุ่มต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก Plutella xylostella (Linnaeus) ด้วยวิธีการพ่นสารแบบน้ำน้อยในคะน้า ทำการทดลอง 3 การทดลอง ในแปลงคะน้าของเกษตรกร อำเภอพนมทวน และท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี การทดลองที่ 1 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ จำนวน 6 กรรมวิธี คือ ทำการพ่นสารฆ่าแมลง 5 ชนิด ได้แก่ 1) สาร flubendiamide (Takumi 20% WDG) อัตรา 80 - 120 กรัม a.i./ไร่ 2) สาร spinosad (Success120 SC 12% SC) อัตรา 28.8 43.2 กรัม a.i./ไร่ 3) สาร tolfenpyrad (Hachi Hachi 16% EC) อัตรำ 25.6 38.4 กรัม a.i./ไร่ 4) สำร chlorfenapyr (Rampage 10% SC) อัตรำ 24-36 กรัม a.i./ไร่ 5) เชื อ Bt (Xentari) อัตรำ 168x10(5) DBMU และ 6) กรรมวิธีไม่พ่นสาร ทำการพ่นสารเมื่อมีหนอนใยผักระบาด ผลการทดลองพบว่า สาร tolfenpyrad (Hachi Hachi 16% EC) มีประสิทธิภาพในการควบคุมหนอนใยผักได้ดีที่สุดให้ผลผลิต มีคุณภาพดีและปริมาณสูงสุด การทดลองที่ 2 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ จำนวน 5 กรรมวิธี คือ 1) กรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำน้อยมากโดยใช้เครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลมประกอบหัวฉีด Micron X-1 2) กรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำน้อยด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพำยหลังแบบใช้แรงลมประกอบหัวฉีด Wizza 3) กรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำมากด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลมประกอบหัวฉีดแบบฝักบัว 4) กรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำมากที่เกษตรกรใช้ด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงดันน้ำประกอบก้านหัวฉีด 3 หัว และ 5) กรรมวิธีไม่พ่นสาร ทำการพ่นสารเมื่อพบหนอนใยผักระบาด ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารใช้สารกำจัดแมลง spinosad (Success 120 SC 12% SC) อัตรา 28.80, 36.00 และ 43.20 กรัม a.i./ไร่ โดยใช้อัตราพ่นน้ำน้อยมากที่ 5, 6 และ 8 ลิตร/ไร่ ใช้อัตราพ่นแบบน้ำน้อยที่ 10, 12 และ 15 ลิตร/ไร่ และใช้อัตราพ่นแบบน้ำมากที่ 80, 100 และ 120 ลิตร/ไร่ เมื่อคะน้าอายุ 25, 35 และมากกว่า 45 วัน ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่า ทุกกรรมวิธีที่มีการพ่นสารสามารถควบคุมหนอนใยผักได้ไม่แตกต่างกัน ด้านผลผลิตพบว่ากรรมวิธีที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพมากที่สุดคือ กรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำน้อยมากด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลมประกอบหัวฉีด Micron X-1 การทดลองที่ 3 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ จ ำนวน 7 กรรมวิธี คือ 1) กรรมวิธีพ่นสาร chlorfenapyr 10% SC อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ด้วยกรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำน้อย, 2) กรรมวิธีพ่นสำร tolfenpyrad 16% EC อัตรำ 40 มิลลิลิตร/น ำ 20 ลิตร ด้วยกรรมวิธีพ่นสำรแบบน ำน้อย, 3) กรรมวิธีพ่นสำร spinosad 12% SC อัตรา 60 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ด้วยกรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำน้อย, 4) กรรมวิธีพ่นสาร chlorfenapyr 10% SC อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ด้วยกรรมวิธีพ่นสำรแบบน้ำมาก, 5) กรรมวิธีพ่นสาร tolfenpyrad 16% EC อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ด้วยกรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำมาก, 6) กรรมวิธีพ่นสาร spinosad 12% SC อัตรำ 60 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ด้วยกรรมวิธีพ่นสำรแบบน้ำมาก และ 7) กรรมวิธีไม่พ่นสาร ผลการทดลองสรุปได้ว่า ทุกกรรมวิธีที่มีการพ่นสารสามารถควบคุมหนอนใยผักได้ไม่แตกต่างกัน เมื่อมองถึงด้านผลผลิตพบว่า กรรมวิธีที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพมากที่สุดคือ กรรมวิธีพ่นสาร spinosad 12% SC อัตรา 60 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ด้วยกรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำน้อย