ผลกระทบของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อมวนเพชฌฆาตสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพกึ่งแปลง
#1
ผลกระทบของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อมวนเพชฌฆาตในสภาพห้องปฏิบัติการ และสภาพกึ่งแปลงทดสอบ
สาทิพย์ มาลี และรัตนา นชะพงษ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          ผลกระทบของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชต่อมวนเพชฌฆาตในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพกึ่งแปลงทดสอบ ในปี 2554 ดำเนินการทดลองกับมวนเพชฌฆาตระยะตัวอ่อนวัย 5 ในสภาพห้องปฏิบัติการ ที่กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 5 ซ้ำ 27 กรรมวิธี ได้แก่ acetone และ น้ำกลั่น เป็นกรรมวิธีควบคุม และสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช 25 ชนิด ที่อัตราต่างๆ ต่อน้ำ 20 ลิตร ผลหลังเคลือบสารฯในหลอดแก้วทดลอง 4 ชั่วโมง แล้วปล่อยมวนสัมผัสสารฯ 72 ชั่วโมงพบว่า สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ไม่มีพิษต่อมวนเพชฌฆาตระยะตัวอ่อนวัย 5 และไม่แตกต่างทางสถิติกับน้ำกลั่น และ acetone (ทำให้มวนตาย 0 และ 0%) มี 19 ชนิด ได้แก่ amitraz 20% EC, buprofezin 10% WP, lambdacyhalothrin 2.5% CS, thiamethoxam - lambdacyhalothrin 14.1% 10.6% ZC, benfuracarb 20% EC, clothianidin 16% SG, novaluron 10% EC, indoxacarb 15% SC, spinosad 12% SC, emamactin benzoate 1.92% EC, flubendiamide 20% WDG, lufennuron 5% EC, tolfenpyrad 16% EC, Bacillus thuringiensis WDG, Bacillus thuringiensis HP, antracol 70% WP, captan 50% WP, chlorfenapyr 10% SC และ betacyfluthrin 2.5% EC โดยทำให้มวนเพชฌฆาตตาย 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 4 และ 8 % ตามลำดับ ส่วนสารฯไม่มีพิษต่อมวนเพชฌฆาตระยะตัวอ่อนวัย 5 แต่แตกต่างทางสถิติกับน้ำกลั่น และ acetone มี 4 ชนิด ได้แก่ fipronil, fenpropathrin, etofenprox และ dinotefuran ทำให้มวนตาย 12, 20, 24 และ 28% ตามลำดับ ส่วนสารที่มีพิษต่อมวนมี 2 ชนิดคือ cypermethrin และ carbosulfan ทำให้มวนตายมากที่สุด 32 และ 52 % ตามลำดับ และแตกต่างทางสถิติกับน้ำกลั่น acetone

          ผลกระทบของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชต่อมวนเพชฌฆาตในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพกึ่งแปลงทดสอบ ในปี 2555 ดำเนินการทดลองกับมวนเพชฌฆาตระยะตัวอ่อนวัย 5 ในสภาพกึ่งแปลงทดสอบ ที่แปลงปลูกกระเจี๊ยบเขียว และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 5 ซ้ำ 10 กรรมวิธี ได้แก่ น้ำ และสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช 9 ชนิด ที่อัตราต่างๆ ต่อน้ำ 20 ลิตร ที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้ในกระเจี๊ยบเขียว ทดลองโดยพ่นน้ำ และสารฯ บนต้นกระเจี๊ยบเขียวในแปลงเกษตรกรที่จังหวัดกาญจนบุรี ในตอนเย็น และเก็บใบกระเจี๊ยบเขียวจากกรรมวิธีต่างๆในตอนเช้าน ากลับมายังห้องปฏิบัติการ และน ามาใส่ในหลอดแก้วทดลองพร้อมมวนเพชฌฆาตตัวอ่อนวัย 5 เพื่อทดสอบผลของสารฯต่อมวน ใส่ดักแด้หนอนนกเพื่อเป็นอาหาร นาน 72 ชั่วโมง การทดลองพบว่ามีสาร 7 ชนิด ปลอดภัยต่อมวนเพชฌฆาตตัวอ่อนวัย 5 คือ clothianidin 16%SG, etofenprox 20%EC, buprofezin 10%WP, carbosulfan 20%EC, dinotefuran 10%WP, fipronil 5%SC และ fenpropathrin 10%EC โดยทำให้มวนเพชฌฆาตตัวอ่อนวัย 5 ตาย 0, 12, 12, 16, 16, 8, 20% ตามล าดับ ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติกับน า (0%) และมีระดับความเป็นพิษต่อมวนเท่ากับ 1 ส่วนสารอีก 2 ชนิดคือ lambdacyhalothrin 2.5%CS และ imidacloprid 10%SL ทำให้มวนตาย 24 และ 40% ซึ่งแตกต่างทางสถิติกับน้ำ และมีระดับความเป็นพิษต่อมวนเท่ากับ 1 และ 2 ตามลำดับ

          ผลกระทบของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชต่อมวนเพชฌฆาตในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพกึ่งแปลงทดสอบ ในปี 2556 ดำเนินการทดลองกับมวนเพชฌฆาตระยะตัวอ่อนวัย 5 ในสภาพกึ่งแปลงทดสอบ ที่แปลงปลูกถั่วเขียว และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 5 ซ้ำ 8 กรรมวิธี ได้แก่ น้ำ และสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช 7 ชนิด ที่อัตราต่างๆ ต่อน้ำ 20 ลิตร ที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้ในถั่วเขียว ทดลองโดยพ่นน้ำ และสารฯ บนต้นถั่วเขียว และเก็บใบถั่วเขียวจากกรรมวิธีต่างๆ น้ำมาใส่ในหลอดแก้วทดลองพร้อมมวนเพชฌฆาตตัวอ่อนวัย 5 เพื่อทดสอบผลของสารฯต่อมวน ใส่ดักแด้หนอนนกเพื่อเป็นอาหาร นาน 72 ชั่วโมง การทดลองพบว่า มีสาร 5 ชนิด ปลอดภัยต่อมวนเพชฌฆาตตัวอ่อนวัย 5 คือ dinotefuran 10% WP, fipronil 5% SC, lambdacyhalothrin 2.5% CS, betacyfluthrin 2.5% EC และ amitraz 20% EC โดยทำให้มวนเพชฌฆาตตัวอ่อนวัย 5 ตาย 15.84, 5.00, 7.50, 7.50 และ 2.50 % ตามลำดับ และมีระดับความเป็นพิษต่อมวนเท่ากับ 1 ส่วนสารอีก 2 ชนิดคือ imidacloprid 10% และ carbosulfan 20% ทำให้มวนเพชฌฆาตตาย 56.67 และ36.67 % และมีระดับความเป็นพิษต่อมวนเท่ากับ 2 จัดว่าเป็นสารฆ่าแมลงที่มีพิษน้อยต่อมวนเพชฌฆาต
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม