การคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมเชื้อรา Rhizoctonia solani
#1
การคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมเชื้อรา Rhizoctonia solani
พีระวรรณ พัฒนวิภาส, ธารทิพย ภาสบุตร, ศิวิไล ลาภบรรจบ และอ้อยทิน จันทร์เมือง
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน และศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน

         เก็บตัวอย่างกาบใบข้าวโพดที่แสดงอาการไหม้หรือจุดมาทำการแยกเชื้อและศึกษาเชื้อที่แยกได้พบว่า Rhizoctonia solani นำเชื้อที่แยกได้ มาทดสอบประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา R. solani ในห้องปฏิบัติการกับจุลินทรีย์จากหน่วยเก็บจุลินทรีย์โรคพืช จำนวน 181 isolate บนอาหาร PDA พบว่าเชื้อจุลินทรีย์ จำนวน 13 ไอโซเลท แสดงปฏิกิริยายับยั้งเชื้อ R. solani หลังการทดสอบบนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA 2 วัน นำเชื้อที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา R. solani จำนวน 13 ไอโซเลท นำไปทดสอบในเรือนเพาะชำที่มีการปลูกเชื้อให้กับพืชอาศัยของเชื้อรา R. solan จากการประเมินการเกิดโรคครั้งที่ 5 พบว่ามีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคอยู่ระหว่าง 29.6 - 55.6 คัดเลือกจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา R. solani จำนวน 7 ไอโซเลท นำไปทดสอบในแปลงทดลองพบว่า กรรมวิธีพ่นจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ isolate ที่ 13 (20 W 7) มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคต่ำที่สุดคือ 17.02 ไม่แตกต่างจากกรรมวิธีพ่นจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ isolate ที่ 3 (XM40), 4 (14 G 12), 6 (18 G 6), 7 (C B 7), 8 (14 W 8), 10 (11 W 1) และ isolate ที่ 13 (20 W 7) เปอร์เซ็นต์การเกิดโรค 22.81, 22.95, 22.97, 21.61, 23.01และ 23.37 ตามลำดับ แต่แตกต่างจากกรรมวิธีพ่นน้ำเปล่ามีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรค 31.61 กรรมวิธีพ่นจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ isolate ที่ 3 (XM40), 4 (14 G 12), 6 (18 G 6), 7 (C B 7), 8 (14 W 8), 10 (11 W 1) และ isolate ที่ 13 (20 W 7) ไม่แตกต่างจากกรรมวิธีพ่นน้ำเปล่า


ไฟล์แนบ
.pdf   85_2556.pdf (ขนาด: 583.03 KB / ดาวน์โหลด: 1,200)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม