การทดสอบประสิทธิภาพของแมลงช้างปีกใสในการควบคุมแมลงหวี่ขาวใยเกลียว
#1
การทดสอบประสิทธิภาพของแมลงช้างปีกใสในการควบคุมแมลงหวี่ขาวใยเกลียว
ประภัสสร เชยคำแหง, รจนา ไวยเจริญ และอัมพร วิโนทัย
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การทดสอบประสิทธิภาพของแมลงช้างปีกใสในการควบคุมแมลงหวี่ขาวใยเกลียว ดำเนินการทดลองในห้องปฏิบัติการกลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ ในปี 2554 ได้ดำเนินการสำรวจ และเก็บรวบรวมแมลงหวี่ขาวใยเกลียว จำนวน 6 ครั้ง ในจังหวัดชลบุรี ระยอง สุพรรณบุรี ชัยนาท และจังหวัดนครราชสีมา พบการระบาดของแมลงหวี่ขาวใยเกลียวใน มันสำปะหลัง มะละกอ พริก ถั่ว และพวกวัชพืชต่างๆ เป็นต้น พบแมลงศัตรูธรรมชาติคือ แตนเบียน ด้วงเต่า และแมลงช้างปีกใส นำแมลงช้างปีกใสมาเลี้ยงเพื่อตรวจดูชนิดพบว่าเป็นชนิด Plesiochrysa ramburi และ Malada basalis นำแมลงหวี่ขาวใยเกลียวมาเพาะเลี้ยงบนต้นมันสำปะหลัง และต้นชบา เพื่อใช้ระยะไข่และระยะ ตัวอ่อนของแมลงหวี่ขาวใยเกลียว มาเป็นเหยื่ออาหารของแมลงช้างปีกใส โดยใช้ตัวอ่อนแมลงช้างปีกใส M. basalis P. ramburi และ C. carner วัย 1 จำนวน 100 ตัว ให้แมลงหวี่ขาวใยเกลียวในระยะไข่ และระยะตัวอ่อนเป็นอาหาร บันทึกข้อมูลประสิทธิภาพการกินตลอดช่วงเวลาที่เป็นระยะตัวอ่อนพบว่า ตัวอ่อนแมลงช้างปีกใสทั้ง 3 ชนิด วัย 1 วัย 2 และวัย 3 สามารถกินไข่แมลงหวี่ขาวใยเกลียวได้ 86.15 ± 16.64, 175.70 ± 28.57, 254.85 ± 36.87 และ 71.60 ± 12.72, 144.45 ± 23.59, 302.10 ± 51.94 และ 48.00 ± 13.23 84.05 ± 12.67 152.80 ± 39.3 ฟอง ตามลำดับ รวมตลอดระยะตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใสสามารถทำลายไข่แมลงหวี่ขาวใยเกลียวได้เฉลี่ย 526.2 ± 47.35 518.15 ± 6.06 และ 282.90 ± 48.06 ฟอง ตามลำดับ สามารถกินตัวอ่อนแมลงหวี่ขาวใยเกลียวได้ 25.75 ± 7.81 66.75 ± 14.97 84.70 ± 54.44, 37.30 ± 8.24 89.75 ± 36.75 205.20 ± 50.99 และ 22.4 ± 9.86 36.8 ± 7.53 96.8 ± 12.061 ตัว ตามลำดับ ทำลายตัวอ่อนแมลงหวี่ขาวใยเกลียวได้เฉลี่ย 277.2 ± 59.46 332.25 ± 81.43 และ 96.8 ± 12.061 ตัว ตามลำดับ ประสิทธิภาพการกินของแมลงช้างปีกใสทั้ง 3 ชนิดใกล้เคียงกัน การเลือกใช้แมลงช้างปีกใสชนิดใดคงต้องขึ้นอยู่กับการผลิตว่าชนิดใดสามารถผลิตได้ปริมาณมาก และง่ายที่สุด


ไฟล์แนบ
.pdf   66_2556.pdf (ขนาด: 441.16 KB / ดาวน์โหลด: 877)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม