ชีววิทยาทากเล็บมือนาง; Parmarion siamensis (Cockerell)
#1
ชีววิทยาทากเล็บมือนาง; Parmarion siamensis (Cockerell)
ปิยาณี หนูกาฬ, ดาราพร รินทะรักษ์ และชมพูนุท จรรยาเพศ
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          สำรวจแปลงกล้วยไม้ของเกษตรกรที่มีการระบาดของทากเล็บมือนาง ในจังหวัดนครราชสีมา นครปฐม กาญจนบุรี และราชบุรี นำตัวอย่างทากมาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการของกลุ่มงานสัตววิทยาการเกษตรเพื่อศึกษาชีววิทยา จากการสังเกตพฤติกรรมของทากเล็บมือนางพบว่า ทากเล็บมือนางไม่ชอบแสงสว่าง ชอบหลบอยู่ใต้วัสดุปลูก กาบมะพร้าวหรือพืชอาหารในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ทากที่โตเต็มวัยแต่ละตัวจะมีอวัยวะสืบพันธุ์ได้ทั้งเพศผู้และเพศเมีย แต่ไม่สามารถผสมพันธุ์ภายในตัวเองได้ ต้องจับคู่เพื่อผสมพันธุ์ข้ามตัวในช่วงเวลากลางคืน ทกากจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ รวมกันไว้ เป็นกลุ่มตั้งแต่ 13 - 69 ฟอง (เฉลี่ย 41.3 ; n = 31) ไข่ที่ออกมาใหม่ ๆ จะมีรูปร่างรีและค่อนข้างใส เปลือกไข่มีลักษณะนิ่ม ทำให้ไข่เกาะติดกันเป็นกลุ่มก้อน ขนาดของไข่ทากมีความยาวเฉลี่ย 53.35 มิลลิเมตร ระยะเวลาที่ลูกทากฟักออกจากไข่ 10 - 17 วัน (เฉลี่ย 12.78 ; n = 16) ที่อุณหภูมิ 26 - 30 องศาเซลเซียส ในห้องปฏิบัติการ อัตราการฟักเฉลี่ยร้อยละ 62.6 ลุกทากที่เพิ่งฟักมีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยแต่มีขนาดเล็ก ลูกทากเกิดใหม่สามารถกัดกินใบอ่อนที่นิ่ม ๆ ของพืชอาหารที่อยู่ใกล้ ๆ ได้ทันที อัตราการอยู่รอดของลุกทากเฉลี่ยร้อยละ 22.95 ระยะเวลาตั้งแต่ฟักจากไข่จนเป็นตัวเต็มวัยสามารถสืบพันธุ์ได้ใช้เวลาประมาณ 4 เดือน


ไฟล์แนบ
.pdf   1768_2553.pdf (ขนาด: 406.49 KB / ดาวน์โหลด: 777)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม