การใช้ไส้เดือนฝอยควบคุมหายทากซัคซิเนียในกล้วยไม้
#1
การใช้ไส้เดือนฝอย Steinernema sp. ควบคุมหายทากซัคซิเนีย; Succinea chrysis ในสวนกล้วยไม้
ปราสาททอง พรหมเกิด, ชมพูนุท จรรยาเพศ, กรแก้ว เสือสะอาด, สาทิพย์ มาลี, วิไลวรรณ เวชยันต์, ปิยาณี หนูกาฬ และดาราพร รินทะรักษ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทดสอบประสิทธิภาพในการพ่นไส้เดือนฝอยควบคุมหอยซัคซิเนียในสวนกล้วยไม้เกษตรกรที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้ S. riobrave และ S. carpocapsae วางแผนการทดลอง RCB 5 วิธีการ 4 ซ้ำ คือ ไส้เดือนฝอย S. riobrave และ S. carpocapsae ใช้อัตราเข้มข้น 2 และ 4 ล้านตัวต่อตารางเมตร ส่วนเปรียบเทียบกับวิธีการพ่นน้ำ โดยทำแปลงย่อยที่ล้อมรอบด้วยตาข่ายพื้นที่ 0.5 ตารางเมตร ปล่อยหอยจำนวน 15 ตัวต่อแปลงย่อย หลังจากพ่น 4 วัน นับจำนวนหอยตายในแปลงย่อยขนาด 0.5 ตารางเมตร พบว่า อัตราการตายของหอยที่ 4 วัน คือ 38.50, 42.50, 33.83 และ 47.66 % ตามลำดับ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม 5.00% และนำ S. carpocapsae อัตรา 2 ล้านตัวต่อตารางเมตร มาควบคุมหอยซัคซิเนียในสวนกล้วยไม้ที่จังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดนครปฐมแปลงละ 1 ไร่ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกันยายน 2553 พบว่า มีจำนวนประชากรหอยลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับแปลงเกษตรกรที่เพิ่มขึ้น โดยแต่ละเดือนยังพบไส้เดือนฝอยอาศัยอยู่ในแปลงทดสอบลดลง (50,000-5000,000 ตัวต่อตารางเมตร) และดินในแปลงสวนกล้วยไม้ที่ทดสอบมีความเป็นกรด-ด่าง 6.5-8.0 ความชื้นดิน 60-90%


ไฟล์แนบ
.pdf   1766_2553.pdf (ขนาด: 127.14 KB / ดาวน์โหลด: 574)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม