วิจัยการใช้หนอนตายหยากและหางไหล เพื่อกำจัดหอยเชอรี่และหอยทากบก
#1
วิจัยการใช้หนอนตายหยากและหางไหล เพื่อกำจัดหอยเชอรี่และหอยทากบก
ปราสาททอง พรหมเกิด, ชมพูนุท จรรยาเพศ, กรแก้ว เสือสะอาด, รัตนาภรณ์ พรหมศรัทธา และพรรณีกา อัตตนนท์
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          ในการทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดหางไหลและหนอนตายหยากกับหอยเชอรี่และหอยทากบก 6 ชนิด ในห้องปฏิบัติการกลุ่มงานสัตววิทยาการเกษตร ตามแผนการทดลอง CRD 5 กรรมวิธี 4 ซ้ำคือ สารสกัดหางไหลที่ความเข้มข้น 0.05 และ 0.1 มล.ต่อลิตร และหนอนตายหยาก 2 และ 4 กรัมต่อลิตร กับหอยเชอรี่ที่ความเข้มข้น 0.025 และ 0.05 มล.ต่อกล่อง หนอนตายหยาก 0.75 และ 1.0 กรัมต่อกล่อง กับหอยซัคซิเนีย หอยเลขหนึ่ง หอยเจดีย์ และที่ความเข้มข้นหางไหล 0.5 และ 1.0 มล.ต่อกล่อง หนอนตายหยาก 3.0 และ 5.0 กรัมต่อกล่อง กับหอยดักดาน หอยสาริกา หอยทากยักษ์เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่พ่นน้ำ หลังจากทดสอบ 72 ชั่วโมง พบว่า หอยเชอรี่าย 100, 100, 33.0, 100 และ 0% ตามลำดับ หอยซัคซิเนียตาย 70.0, 100, 25.0, 66.66 และ 0% ตามลำคับ หอยเลขหนึ่งตาย 83.33, 100, 16.67, 16.67 และ 0% ตามลำดับ หอยเจดีย์ตาย 66.66, 100, 25, 66.66 และ 0% ตามลำดับ หอยดักดานตาย 0, 100, 0, 0และ 0% ตามลำดับ หอยสาริกาตาย 50.0, 100, 0, 0 และ 0% ตามลำดับ หอยทากยักษ์ตาย 25.0, 75.0, 8.33, 8.33 และ 0% ตามลำดับ ได้ศึกษาเนื้อเยื่อวิทยาของหอยแต่ละชนิดหลังทดสอบด้วยสารสกัดโดยทำสไลด์ถาวรที่ย้อมสีฮีมาท็อกไซลินและอีโอซินพบว่า เซลล์และเนื้อเยื่ออวัยวะกระเพาะอาหาร ตับ ริ้วเหงือกของหอยเชอรี่และอวัยวะตับของหอยซัคซิเนีย หอยเลขหนึ่ง หอยเจดีย์ที่ทดสอบด้วยหางไหลถูกทำลายที่ 6 ชั่วโมง ส่วนหอยดักดานหอยสาริกาหอยทากยักษ์ถูกทำลายที่ 24 ชั่วโมง สำหรับหนอนตายหยากนั้นเซลล์และเนื้อเยื่อหอยทั้ง 7 ชนิดที่ทดสอบนาน 72 ชั่วโมง มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และทดสอบประสิทธิภาพสารสกัดหวงไหลกับหอยทากยักษ์และหอยดักดานในอ่างซีเมนต์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตรที่บรรจุดินก้นอ่างใส่หอยทากยักษ์และหอยดักดาน 5 และ 8 ตัว/อ่าง ตามลำดับ ตามแผนการทดลอง RCB 5 กรรมวิธี 4 ซ้ำคือ สารสกัดหางไหลอัตรา 3 และ 5 มล. พ่นลงอ่างและผสมอาหารให้หอยกินเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม หลังทดสอบ 4 วัน พบว่า หอยดักดานและหอยทากยักษ์ที่พ่นและผสมอาหารด้วยหางไหลอัตรา 5 มล.ตาย 31.25, 25.0% และ 6.25, 0% ตามลำดับ และทดสอบประสิทธิภาพสารสกัดหางไหลกับหอยซัคซิเนีย หอยเจดีย์และหอยเลขหนึ่งในอ่างซีเมนต์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตรที่บรรจุดินก้นอ่างใส่หอยทั้งสามชนิดๆ ละ 5 ตัว/อ่าง ตามแผนการทดลอง RCB 5 กรรมวิธี 4 ซ้ำคือ สารสกัดหางไหลอัตรา 3 และ 5 มล. พ่นลงอ่างและผสมอาหารให้หอยกินเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุมหลังทดสอบ 4 วัน พบว่า หอยซัคซิเนียตาย 34.66-53.33% หอยเจดีย์ตาย 11.66-20.0% และหอยเลขหนึ่งตาย 9.66-36.25% และทดสอบประสิทธิภาพกับหอยเจดีย์ใหญ่ในสวนกล้วยไม้ที่อัตรา 50, 100 และ 150 มล.ต่อตารางเมตร ตามแผนการทดลองRCB 7 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ด้วยการ พ่นและผสมอาหารให้หอยกินเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม หลังทดสอบ3วันพบว่าหอยเจดีย์ตาย 25.0, 38.33, 95.0, 10.0, 3.33, 3.33 และ 0.0% ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   1608_2553.pdf (ขนาด: 801.89 KB / ดาวน์โหลด: 2,820)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม