ทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสำคัญในมะม่วง
#1
ทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูสำคัญในมะม่วง
สราญจิต ไกรฤกษ์, สุภราดา สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง, ยุทธนา แสงโชติ และพวงผกา อ่างมณี
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การทดสอบการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูมะม่วงที่สำคัญในปี พ.ศ. 2550 - 2553 ทดสอบการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในห้องปฏิบัติการและแปลงมะม่วง อ.ปากชช่อง จ.นครราชสีมา และทดสอบสารป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นมะม่วง ในแปลงมะม่วง อ.บ้านโฮ่ง และ อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน โดยเปรียบเทียบสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ และมีพิษต่ำต่อผู้ใช้และผู้บริโภค โดยกำหนดกรรมวิธีการทดสอบรวม 8 กรรมวิธี ได้แก่ thiamethoxam (Actara 25% WG) อัตรา 2.5 กรัม, acetamiprid (Molan 20% SP) อัตรา 3 กรัม, carbosulfan (Posse 20% EC) อัตรา 50 มล., imidacloprid (Confidor 10% SL) อัตรา 10 มล., dinotefuran (Starkle 10% WP) อัตรา 10 กรัม, refined white oil (White oil 67% EC) อัตรา 100 มล., petroleum spray oil (DC Tron plus), อัตรา 100 มล., Control (พ่นน้ำเปล่า) สารที่ให้ผลในการควบคุมเพลี้ยแป้งในห้องปฏิบัติการได้ดีคือ thiamethoxam 25% WG อัตรา 2.5 กรัม./น้ำ 20 ลิตร, dinotefuran 10% WP อัตรา 10 กรัม./น้ำ 20 ลิตร และ imidacloprid 10% SL อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร สารที่ให้ผลในการควบคุมเพลี้ยจักจั่นในการทดสอบในปี พ.ศ. 2552 คือ imidacloprid 10% SL อัตรา 10 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร dinotefuran 10% WP อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และ thiamethoxam 25% WG อัตรา 2.5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และในปี พ.ศ. 2553 ผลการทดสอบสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด คือ imidacloprid 10% SL อัตรา 10 มล. และ thiamethoxam 25% WG อัตรา 2.5 กรัม ได้ผลเท่ากับ dinotefuran 10% WP อัตรา 10 กรัม


ไฟล์แนบ
.pdf   1555_2553.pdf (ขนาด: 139.6 KB / ดาวน์โหลด: 837)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม