12-21-2015, 02:28 PM
วิธีประเมินปริมาณเชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคใบขาวในอ้อยด้วยเทคนิคพีซีอาร์
ศุจิรัตน์ สงวนรังศิริกุล, ธีรวุฒิ วงศ์วรัตน์, ปิยะดา ธีระกุลพิสุทธิ์, ทักษิณา ศันสยะวิชัย, สุนี ศรีสิงห์, นิลุบล ทวีกุล, นฤทัย วรสถิตย์ และรังสี เจริญสถาพร
ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น, ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, ศุนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี และสถาบันวิจัยพืชไร่
ศุจิรัตน์ สงวนรังศิริกุล, ธีรวุฒิ วงศ์วรัตน์, ปิยะดา ธีระกุลพิสุทธิ์, ทักษิณา ศันสยะวิชัย, สุนี ศรีสิงห์, นิลุบล ทวีกุล, นฤทัย วรสถิตย์ และรังสี เจริญสถาพร
ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น, ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, ศุนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี และสถาบันวิจัยพืชไร่
การวัดปริมาณเชื้อหรือปริมาณสารพันธุกรรมตำแหน่งที่ต้องการมักใช้การคำนวณจำนวน copy number ของสารพันธุกรรมที่ได้จากการเพิ่มปริมาณด้วยเครื่องเพิ่มปริมาณในสภาพจริง (real time PCR) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ราคาแพงมาก ห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่ไม่มีเครื่องมือชนิดนี้ ผลงานที่นำเสนอนี้เป็นการพัฒนาวิธีการประเมินปริมาณเชื่อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคโรคใบขาวในอ้อยด้วยเครื่องพีซีอาร์ทั่วไป ผลการทดลองพบว่า สามารถพัฒนาวิธีการตรวจจับดีเอ็นเอของเชื้อไฟโตพลาสมาได้สองตำแหน่ง คือ ตำแหน่ง 700 คู่เบส ในบริเวณ 16S-23S rRNA ตรวจด้วยวิธี direct PCR เป็นตำแหน่งที่พบในเชื้อไฟโตพลาสมาทั่วไป และตำแหน่ง 210 คู่เบส ที่อยู่บริเวณ 16S-23S intergenic spacer region (ITS) ตรวจด้วยวิธี nested-PCR เป็นตำแหน่งจำเพาะต่อเชื้อโรคใบขาวในอ้อย ผลการนำดีเอ็นเอของเชื้อในตำแหน่ง 700 คู่เบส ที่ตรวจสอบปริมาณดีเอ็นเอด้วยการวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ 260 nm แล้วคำนวณหาปริมาณดีเอ็นเอมาใช้เป็นดีเอ็นเอมาตรฐานในการประเมินปริมาณเชื้อในตัวอย่างใบอ้อย โดยเจือจางปริมาณดีเอ็นเอเริ่มต้นตั้งแต่ 10 ถึง 10-6 ng/ul ทำการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมด้วยวิธี direct PCR พบว่า ผลผลิตพีซีอาร์ปรากฏความเข้มแสงที่แตกต่างกัน โดยมีค่าความสัมพันธ์ (R2) ระหว่างผลผลิตพีซีอาร์และปริมาณดีเอ็นเอเริ่มต้นกับผลผลิตพีซีอาร์เท่ากับ 0.994 แสดงให้เห็นว่าสามารถนำวิธีการนี้วิเคราะห์ปริมาณดีเอ็นเอเริ่มต้นของเชื้อไฟโตพลาสมาในตัวอย่างอ้อยได้ ผลการทดลองทดสอบวิธีการนี้กับต้นอ้อยที่ติดเชื้อใบขาวพบว่า ปริมาณเชื้อที่ประเมินได้สัมพันธ์กับอาการใบขาวของต้นอ้อย โดยต้นที่แสดงอาการใบขาวตรวจพบปริมาณเชื้อมากกว่าต้นที่ไม่แสดงอาการแต่มีการติดเชื้อแล้ว ได้มีการนำวิธีที่พัฒนาได้นี้ไปประเมินระดับปริมาณเชื้อในแปลงพันธุ์อ้อย และตัวอย่างสุ่มตรวจแล้วจำนวนมากกว่าสองพันตัวอย่าง วิธีการนี้ทำให้ได้ข้อมูลที่ทำให้ผู้ดำเนินงานทราบถึงความรุนแรงของเชื้อในแปลง รวมทั้งเป็นข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจว่าควรเลือกแปลงใด ต้นใด หรือตำแหน่งใดภายในกอ สำหรับการขยายพันธุ์ในกรณีที่ไม่สามารถหาท่อนพันธุ์สะอาดในการขยายพันธุ์ได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ความสัมพันธ์กันระหว่างปริมาณดีเอ็นเอเริ่มต้นกับผลผลิตพีซีอาร์ในการประเมินปริมาณเชื้อไฟโตพลาสมาในตัวอย่างพืชได้