ผลของการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูทานตะวันต่อผึ้งและแมลงผสมเกสรในสภาพไร่
#1
ผลของการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูทานตะวันต่อผึ้งและแมลงผสมเกสรในสภาพไร่
ยุทธนา แสงโชติ, พวงผกา อ่างมณี และวาทิน จันสง่า
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ผลของสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูทานตะวันต่อผึ้งและแมลงผสมเกสรในสภาพไร่ได้ทำการทดลองที่หน่วยวิจัยผึ้ง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ระหว่างเดือนตุลาคม 2552 - พฤษภาคม 2553 โดยแบ่งเป็น 2 การทดลองคือ การทดลองที่ 1 การทดสอบความเป็นพิษของสารป้องกันกำจัดแมลงโโยวิธีสัมผัส (contact method) ต่อผึ้งพันธุ์ วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 4 ซ้ำ เปรียบเทียบสาร 5 ชนิดคือ thiamethoxam (Actara 25% WG), dinotefuran (Stakle 10% WP), thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6% ZC), lufenuron (Math 050 EC 5% EC) และ emamectin benzoate (Proclaim 019 EC 1.92% EC) เปรียบเทียบกับไม่พ่นสารใด ๆ พบว่า ในชั่วโมงที่ 48 สาร lufenuron ทำให่ผึ้งตายน้อยที่สุด (25 เปอร์เซ็นต์) ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับกาารไม่พ่นสารใด ๆ สาร dinotefuran (45 เปอร์เซ็นต์) และสาร emamectin benzoate (65 เปอร์เซ็นต์) ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ แต่ทั้งสองสารมีเปอร์เซ็นต์การตายน้อยกว่าสาร thiamrthoxam/lambdacyhalothrin และสาร thiamrthoxam อย่างมีนัยสำคัญ การทดลองที่ 2 ทดสอบผลของสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูทานตะวันต่อการลงตอมดอกของแมลงผสมเกสรอื่น ๆ พบว่าสาร thiamrthoxam/lambdacyhalothrin พบแมลงผสมเกสรลงตอมดอกมากที่สุดคือ 3.791 ตัว/ดอก รองลงมาคือ lufenuron, ไม่พ่นสาร, emamectin benzoate, thiamrthoxam และ dinotefuran โดยพบแมลงเท่ากับ 2.858, 2.840, 2.667, 2.524 และ 2.157 ตัว/ดอก ตามลำดับ ทุกสารไม่มีความแตกต่างทางสถิติ แมลงผสมเกสรตามธรรมชาติที่พบคือ ชันโรง (Trigona spp.) ผึ้งหลวง (Apis dorsata L.) ผึ้งโพรง (A. cerana Fabr.) แมลงอื่น ๆ (แมลงวันดอกไม้, ผึ้งป่า, แตนบางชนิด เป็นต้น) โดยเปอร์เซ็นต์การลงตอมคือ 89.16, 7.91, 1.99 และ 0.99 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   1600_2553.pdf (ขนาด: 171.25 KB / ดาวน์โหลด: 619)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม