12-03-2015, 03:14 PM
เปรียบเทียบประสิทธิภาพสารสกัดประคำดีควาย ลำโพงและมะขามกับหอยเชอรี่
ชมพูนุท จรรยาเพศ, ปราสาททอง พรหมเกิด, สมเกียรติ กล้าแข็ง, ปิยาณี หนูกาฬ และดาราพร รินทะรักษ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ชมพูนุท จรรยาเพศ, ปราสาททอง พรหมเกิด, สมเกียรติ กล้าแข็ง, ปิยาณี หนูกาฬ และดาราพร รินทะรักษ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ทดสอบประสิทธิภาพระหว่างสารสกัดจากใบและก้านลำโพงขาว (Datula metel L.) กับหอยเชอรี่ Pomacea canaliculata Lamarck โดยใช้ตัวทำละลาย (solvent) ต่าง ๆ กัน ได้แก่ น้ำร้อน น้ำเย็น เมทานอล เอทานอล 70% เมทานอล อะซิโตน เฮคเซน ไดคลอโรมีเทน และเบนซิน พบว่า ลำโพงที่สกัดด้วยเมทานอล เอทานอล และอะซิโตน ได้สารสกัดที่สามารถฆ่าหอยเชอรี่ได้ดีทั้งที่ความเข้มข้น 10 และ 15 กรัม ที่ระยะเวลา 48 ชั่วโมง โดยให้เปอร์เซ็นต์การตายของหอยเชอรี่ได้ดีที่สุด 100 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ กรรมวิธีการใช้ 70% methanol และน้ำเย็น
การใช้ตัวทำละลาย 4 ชนิด ในการสกัดสารจากลำโพงแห้งเพื่อใช้กำจัดหอยเชอรี่นั้นพบว่า กรรมวิธีการใช้ ethanol เป็นตัวทำละลายใช้ได้ดีที่สุดทำให้หอยเชอรี่ตาย 100 เปอร์เซ็นต์ และ 88.89 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้สารสกัดที่ความเข้มข้น 10 กรัม ภายในระยะเวลา 72 และ 48 ชั่วโมง ตามลำดับ โดยกรรมวิธีดังกล่าวไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่แตกต่างจากกรรมวิธีอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารสกัดจากผลประคำดีควาย ใบลำโพง ใบมะขาม กับหอยเชอรี่โดยมีกากเมล็ดชาน้ำมันเป็นสารเปรียบเทียบพบว่า พืชทั้ง 4 ชนิด สามารถฆ่าหอยเชอรี่ได้โดยที่ผลประคำดีควายใช้อัตราต่ำสุดคือ 0.03 กรัมต่อน้ำ 800 มล. นั่นคือ อัตรา 3 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อมีน้ำสูง 5 เซนติเมตร เทียบเท่ากับกากเมล็ดชาน้ำมัน