การเพิ่มศักยภาพในการผลิตและส่งออกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคตะวันออก
#1
การเพิ่มศักยภาพในการผลิตและส่งออกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคตะวันออก
เกษสิริ ฉันทพิริยะพูน, สมชาย ฉันทพิริยะพูน, อุมาพร รักษาพราหมณ์, จิตติลักษณ์ เหมะ, ขนิษฐา วงษ์นิกร, ดาวนภา ช่องวารินทร์, ประไพ หงษา, สาลี่ ชินสถิต, จงรักษ์ จารุเนตร และปราโมช นุ้ยศรี
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6

         ห้องปฏิบัติการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 มีการพัฒนารูปแบบการให้บริการเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและการส่งออกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคตะวันออก เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2553 ถึงปัจจุบัน โดยได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการ เน้นการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการส่งออกในพื้นที่ การให้บริการดังกล่าวดำเนินการอย่างต่อเนื่องครบวงจร ตั้งแต่การผลิตในแปลงจนถึงการจำหน่ายผลผลิตทั้งภายในและส่งออกต่างประเทศ การดำเนินการเริ่มจากการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินพร้อมแปรผลการวิเคราะห์ดินรายแปลง จำนวน 4,439 ตัวอย่าง วิเคราะห์ธาตุอาหารในพืช จำนวน 2,953 ตัวอย่าง วิเคราะห์ปุ๋ยและวัตถุอันตรายทางการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ วิเคราะห์ปุ๋ยเคมี จำนวน 172 ตัวอย่าง ปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 453 ตัวอย่าง วิเคราะห์คุณภาพวัตถุอันตรายทางการเกษตร จำนวน 56 ตัวอย่าง ตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชเบื้องต้นพร้อมให้คำแนะนำในการป้องกันกำจัด จำนวน 1,789 ตัวอย่าง หลังจากที่เกษตรกรดำเนินการผลิตอย่างเป็นระบบ มีการจัดการคุณภาพที่ดี ให้การรับรองระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) จำนวน 9,748 แปลง สำหรับผู้ประกอบการส่งออก ให้การรับรองหลักปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุ (GMP) จำนวน 121 โรง และให้การรับรองการปฏิบัติที่ดีสำหรับการรมผลลำไยสดด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (GFP) จำนวน 45 โรง นอกจากนี้ก่อนส่งผลผลิตไปจำหน่ายต่างประเทศ มีการดำเนินงานให้บริการวิเคราะห์สารพิษตกค้างโดยห้องปฏิบัติการซึ่งได้การรับรอง ISO/IEC 17025 : 2005 ในปี 2553 - 2555 วิเคราะห์สารพิษตกค้าง จำนวน 12,121 ตัวอย่าง วิเคราะห์ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จำนวน 5,706 ตัวอย่าง และออกหนังสือรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) จำนวน 15,532 ฉบับ

          การดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้ผลผลิตในพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นสินค้าที่มีคุณภาพได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ญี่ปุ่น และประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ปริมาณการส่งออกไม้ผล ได้แก่ ทุเรียน มะม่วง มังคุด ลำไย ในปี 2553-2555 สามารถส่งออกในปริมาณมากกว่า 24 ล้านตัน โดยสินค้าดังกล่าวได้รับการยอมรับในด้านคุณภาพ และความปลอดภัยจากประเทศผู้นำเข้า ไม่พบการแจ้งเตือนหรือพบสินค้าส่งกลับจากต่างประเทศ


ไฟล์แนบ
.pdf   2264_2555.pdf (ขนาด: 182.45 KB / ดาวน์โหลด: 622)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม