11-30-2015, 03:19 PM
การศึกษาการป้องกันกำจัดโรคสำคัญของกล้วยไม้ดินโดยวิธีที่เหมาะสม
ทัศนาพร ทัศคร, ธารทิพย ภาสบุตร, พีระวรรณ พัฒนวิภาส และอภิรัชต์ สมฤทธิ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ทัศนาพร ทัศคร, ธารทิพย ภาสบุตร, พีระวรรณ พัฒนวิภาส และอภิรัชต์ สมฤทธิ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
จากการสำรวจและเก็บตัวอย่างโรคกล้วยไม้เอื้องดินใบหมาก กล้วยไม้เอื้องพราว และกล้วยไม้สกุลซิมบิเดียม เพื่อศึกษาชนิดของเชื้อสาเหตุโรคที่สำคัญในพื้นที่ปลูกจังหวัดเชียงใหม่ ระยอง กาญจนบุรี และเลย ในปี 2553 - 2554 ผลการสำรวจพบโรคที่สำคัญของกล้วยไม้เอื้องดินใบหมากและกล้วยไม้เอื้องพราว คือ โรคใบไหม้ ที่เกิดจากเชื้อราสาเหตุ Colletotrichum gloeosporioides ในปี 2554 ได้ทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในห้องปฏิบัติการ จำนวน 6 ชนิด พบว่า สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้ดีที่ทุกระดับความเข้มข้นมี 2 ชนิด คือ propiconazole + procholraz 40 + 9% W/V/EC และสาร prochloraz 50 %W.P. ซึ่งเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรคไม่สามารถเจริญได้ และมีค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2555 ได้นำสารป้องกันกำจัดโรคพืชทั้ง 6 ชนิด ไปทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรคใบไหม้ในสภาพโรงเรือน ผลการทดลองพบว่า ให้ผลสอดคลองกันคือ สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรคใบไหม้ในกล้วยไม้เอื้องดินใบหมากในสภาพโรงเรือนได้ดีคือ สาร propiconazole + procholraz 40 + 9% W/V/EC และสาร prochloraz 50 % W.P. ซึ่งขนาดแผลที่เกิดขึ้นมีขนาด 0.81 และ 0.82 เซนติเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีปลูกเชื้อสาเหตุโรคอย่างเดียวที่มีขนาดแผล 2.51 เซนติเมตร