11-30-2015, 02:15 PM
การเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชโดยการใช้สารกำจัดวัชพืชแบบ tank mixture
จรรยา มณีโชติ, สุพัตรา ชาวกงจักร์, เบญจมาศ คำสืบ, วนิดา ธารถวิล, ยุรวรรณ อนันตนมณี และสิริชัย สาธุวิจารณ์
สำนักผู้เชี่ยวชาญ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4
จรรยา มณีโชติ, สุพัตรา ชาวกงจักร์, เบญจมาศ คำสืบ, วนิดา ธารถวิล, ยุรวรรณ อนันตนมณี และสิริชัย สาธุวิจารณ์
สำนักผู้เชี่ยวชาญ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4
การทดลองนี้ดำเนินการในแปลงทดลอง 3 แห่งของสถาบันวิจัยและพัฒนามันสำปะหลัง ตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในระหว่างเดือนสิงหาคม 2553 - มีนาคม 2555 โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 14 กรรมวิธี ผลการทดลองพบว่า การผสมสารกำจัดวัชพืชสองชนิดที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชต่างชนิดกันแบบ tank mixture สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชได้กว้างขวางมากขึ้น สารกำจัดวัชพืชที่สามารถใช้ได้แบบ tank mixture ในมันสำปะหลัง ได้แก่ alachlor + diuron อัตรา 240-320 + 240-320, isoxaflutole + diuron อัตรา 10-15 + 240-320, clomazone + oxyfluorfen อัตรา 120 + 24, alachlor + metribuzin อัตรา 240 + 55-70, pendimethalin + flumioxazin อัตรา 192 + 10, s-metolachlor + flumioxazin อัตรา 165 + 10, และ acetochlor + diuron อัตรา 240-320 + 240-320 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ โดยอัตราต่ำใช้สำหรับดินทราย และอัตราสูงใช้สำหรับดินร่วนชนิดวัชพืชใบแคบที่ควบคุมได้ เช่น หญ้านกสีชมพู (Echinochloa colona) หญ้าตีนติด (Brachiaria reptans) หญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium) หญ้าตีนนก (Digitaria sanguinalis) หญ้าตีนกา (Eleucine indica (L.) Gaertn.) หญ้าตีนกาใหญ่ (Arachne racemosa Ohwi) หญ้าแพรก (Cynodon dactylon) และหญ้าขนเล็ก (Brachiaria distachyta L.)