11-23-2015, 04:04 PM
โครงการพัฒนาการเกษตรสองฝั่งแม่น้ำชีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดขอนแก่น
สรรเสริญ เสียงใส, สิทธิพงศ์ ศรีสว่างวงศ์, ศิริลักษณ์ พุทธวงค์, ศิริวรรณ อำพันฉาย, ปราณี นามไพร และเหรียญทอง พาน
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรขอนแก่น
สรรเสริญ เสียงใส, สิทธิพงศ์ ศรีสว่างวงศ์, ศิริลักษณ์ พุทธวงค์, ศิริวรรณ อำพันฉาย, ปราณี นามไพร และเหรียญทอง พาน
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรขอนแก่น
พื้นที่การเกษตรสองฝั่งแม่น้ำชี จังหวัดขอนแก่น มักประสบปัญหาน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก มีสภาพแห้งแล้งมากในช่วงฤดูแล้ง และพื้นที่ส่วนหนึ่งมีปัญหาดินเค็ม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงห่วงใยพสกนิกรในพื้นที่ดังกล่าว จึงทรงดำริให้หน่วยงานราชการร่วมกันแก้ไขปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว กรมวิชาการเกษตรจึงได้มอบหมายให้สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ ๓ และศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่นเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการในปี ๒๕๔๕-๒๕๕๒ โดยดำเนินการทดสอบหาชนิดพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ วิถีชุมชน และสภาพเศรษฐกิจ พบว่าการปลูกถั่วลิสงฤดูแล้งหลังนาเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรใน ๓ หมู่บ้าน ในตำบลละหานนา อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น โดยเกษตรกรยอมรับพันธุ์ถั่วลิสงที่ให้ผลผลิตสูงได้แก่ พันธุ์ขอนแก่น ๕ และพันธุ์ขอนแก่น ๖ ได้ผลผลิตฝักแห้งเฉลี่ย ๓๗๓ และ ๓๙๓ กิโลกรัมต่อไร่ ตามล้าดับ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์เดิมของเกษตรกรถึง ๘๗ และ ๑๐๗ กิโลกรัม ตามลำดับ จากนั้นในปี ๒๕๕๒ จึงได้มอบให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรขอนแก่นดำเนินการต่อเนื่องเพื่อพัฒนาระบบการเพาะปลูกพืชของเกษตรกรในพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำชี ให้เกษตรกรมีอาชีพเกษตรกรรมเสริมรายได้ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ โดยทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วลิสงโดยใช้เทคโนโลยีการจัดการแหล่งผลิตถั่วลิสง GAP ในฤดูกาลปลูกปี ๒๕๕๒-๒๕๕๓ พบว่า สามารถเพิ่มผลผลิตถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น ๖ ที่ปลูกในฤดูแล้ง ได้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย ๗๗๗ กิโลกรัมต่อไร่ ท้าให้เกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมากยิ่งขึ้น ในปี ๒๕๕๓-๒๕๕๔ จึงได้ขยายผลไปยังเกษตรกรในพื้นที่เดิมในรูปแบบการกระจายพันธุ์และกระจายเทคโนโลยีออกไปผ่านเกษตรกรต้นแบบซึ่งเป็นผู้นำกลุ่ม และมีการขยายผลไปยังพื้นที่ใหม่ที่อำเภอมัญจาคีรี และอำเภอชนบท โดยได้ทดสอบปลูกถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น ๖ เปรียบเทียบกับพันธุ์ของเกษตรกรพบว่า ถั่วลิสงมีการเจริญเติบโตดี เกิดโรคโคนเน่าน้อยกว่าแปลงเกษตรกร สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในปี ๒๕๕๓ ได้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย ๗๒๗ กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์และวิธีการเดิมของเกษตรกรเป็นอย่างมาก ได้กำไรเฉลี่ย ๑๐,๘๑๓ บาทต่อไร่ ท้าให้เกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ประกอบกับมีตลาดรับซื้อในราคาสูงเป็นแรงจูงใจเสริม ในปี ๒๕๕๔ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง ๓ อำเภอ ๑๘๐ ราย ซึ่งเป็นช่วงเริ่มโครงการเพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๔๖ จำนวน ๑๖๐ ราย ศูนย์ฯ จึงได้เริ่มจัดทำแปลงผลิตพันธุ์ถั่วลิสงเพื่อกระจายพันธุ์ให้เพียงพอแก่ความต้องการของเกษตรกร
นอกจากการทดสอบสาธิตการผลิตถั่วลิสงแล้วยังมีการทดสอบสาธิตการเกษตรผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การผลิตและการกระจายพันธุ์อ้อยพันธุ์ขอนแก่น ๓ มีเกษตรกรให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากทำให้เกษตรกรมีรายได้เสริมเพิ่มเติมจากการเพาะปลูกข้าวและถั่วลิสง นอกจากนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนจึงได้พัฒนาเกษตรกรในโครงการฯ โดยการอบรมเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะทางการเกษตรโดยใช้วิธีการฝึกอบรมและศึกษาดูงานตามศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตรที่ประสบผลสำเร็จอย่างต่อเนื่อง และมีเกษตรกรเข้าร่วมฝึกอบรมมากขึ้นทุกปี