11-23-2015, 10:49 AM
การคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพสารเคมีควบคุมโรคกล้วยไม้สกุลแวนด้าที่เกิดจากแบคทีเรีย
วรางคนา แซ่อ้วง, สุรีย์พร บัวอาจ, รุ่งนภา คงสุวรรณ์ และรุ่งนภา คงสุวรรณ์
กลุ่มบริหารศัตรูพืช และกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
วรางคนา แซ่อ้วง, สุรีย์พร บัวอาจ, รุ่งนภา คงสุวรรณ์ และรุ่งนภา คงสุวรรณ์
กลุ่มบริหารศัตรูพืช และกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
การศึกษาประสิทธิภาพสารเคมีควบคุมโรคกล้วยไม้ที่เกิดจากแบคทีเรียในระดับโรงเรือนปลูกพืชทดลอง จากการทดลองพบว่า ทุกกรรมวิธีได้ขนาดแผลหลังการพ่นสารเคมีน้อยกว่ากรรมวิธีควบคุม จากการปลูกเชื้อโรคใบจุดแบคทีเรียจากเชื้อ Acidovorax avenae subsp.cattleyae โดยสารเคมีที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้ดี คือ คาซูมิน 2,000 ppm, คาซูมิน 1,500 ppm, แคงเกอร์ x 450 ppm, แคงเกอร์ x 300 ppm, ริคโดมิลโกลด์ 2,000 ppm, ริคโดมิลโกลด์ 1,000 ppm มีขนาดแผล 0.21, 0.25, 0.26, 0.28, 0.39 และ 0.43 ซม. ตามลำดับ ซึ่งได้ผลดีกว่ากรรมวิธีควบคุมที่ได้ 0.45 ซม.