11-19-2015, 02:32 PM
ศูนย์ต้นแบบการผลิตขยายแตนเบียนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูเป็นปริมาณมาก
พัชรีวรรณ มณีสาคร, อัมพร วิโนทัย, รจนา ไวยเจริญ, ประภัสสร เชยคำแหง, สุวัฒน์ พูลพาน,วาทิน จันทร์สง่า และสุพรรณี เป็งคำ
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง สถาบันวิจัยพืชไร่
พัชรีวรรณ มณีสาคร, อัมพร วิโนทัย, รจนา ไวยเจริญ, ประภัสสร เชยคำแหง, สุวัฒน์ พูลพาน,วาทิน จันทร์สง่า และสุพรรณี เป็งคำ
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง สถาบันวิจัยพืชไร่
ดำเนินการคัดเลือกพันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงขยายเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูให้ได้ปริมาณสูงสุด จากจำนวน 15 พันธุ์ และฟักทองเลือกใช้พันธุ์ลายซึ่งมีลักษณะเหมาะสม เพลี้ยแป้งชอบ และจัดหาได้ง่าย รวมถึงการใช้สารสกัดจากต้นมันสำปะหลังซึ่งมีองค์ประกอบของไซยาไนด์ (linamarin) ที่สามารถดึงดูดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูได้มาใช้ในการทดสอบ วางแผนการทดลองแบบ RCB 6 กรรมวิธี 10 ซ้ำ โดยดำเนินงานที่กลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง ต.ห้วยบง อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา และศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง อ.เมือง จ.ระยอง ระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึงเดือนกันยายน 2555
ผลการทดลองเบื้องต้นพบว่า ต้นมันสำปะหลังพันธุ์ R72, B127 และ KU50 มีแนวโน้มที่เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูสามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ดี โดยตรวจพบจำนวนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสูงสุดในสัปดาห์ที่ 2 จำนวน 9.8, 9.5 และ 7.8 ตัว ตามลำดับ
สำหรับการทดลองเลี้ยงขยายเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูบนผลฟักทอง เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูสามารถเจริญเติบโตและขยายปริมาณให้กลุ่มไข่ได้ดีที่สุดบนผลฟักทองผิวเรียบที่ทาสาร linamarin มากกว่าฟักทองผิวเรียบที่ไม่ทาสาร linamarin และมากกว่าผิวขรุขระ คือ 15.35, 15.00 และ 3.10 กลุ่ม