10-06-2022, 03:16 PM
การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงหลังนาที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคกลาง
ไชยา บุญเลิศ, วรากรณ์ เรือนแก้ว, สมบัติ บวรพรเมธี, ฉัตรชีวิน ดาวใหญ่, วีรพงษ์ เย็นอ่วม, ณพงษ์ วสยางกูร, วัชรา สุวรรณ์อาศน์, อุกกฤษ ดวงแก้ว, เรณู บุญผาสุก, อรนี อินทร์ทอง, ยอด กันยาประสิทธิ์ และ นิลุบล ทวีกุล
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุทัยธานี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย
ไชยา บุญเลิศ, วรากรณ์ เรือนแก้ว, สมบัติ บวรพรเมธี, ฉัตรชีวิน ดาวใหญ่, วีรพงษ์ เย็นอ่วม, ณพงษ์ วสยางกูร, วัชรา สุวรรณ์อาศน์, อุกกฤษ ดวงแก้ว, เรณู บุญผาสุก, อรนี อินทร์ทอง, ยอด กันยาประสิทธิ์ และ นิลุบล ทวีกุล
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุทัยธานี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย
ถั่วลิสงเป็นพืชที่มีความเหมาะสมกับการปลูกในระบบปลูกพืช โดยเฉพาะการปลูกเป็นพืชหลังนาซึ่งนอกจากจะสร้างรายได้ให้เกษตรกรแล้ว ยังช่วยปรับปรุงบำรุงดินและตัดวงจรศัตรูพืช จึงเป็นพืชทางเลือกหนึ่งที่มีศักยภาพในการปลูกหลังนาในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งมีพื้นที่นาที่มีระบบชลประทำนจานวนมาก โดยในปี 2561/62 ภาคกลางมีพื้นที่ปลูกถั่วลิสงหลังนาภายใต้ระบบชลประทาน 2,331 ไร่ ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 535 กิโลกรัมต่อไร่ พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่กระจายอยู่ในจังหวัดสระบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ และลพบุรี (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2562) เกษตรกรนิยมปลูกถั่วลิสงเพื่อจำหน่ายในรูปฝักสด และมีพ่อค้าไปรับซื้อผลผลิตถึงชุมชน แต่ด้านการผลิตพบว่า เกษตรกรขาดความรู้ในเรื่องการใช้ปุ๋ยและการปรับปรุงดิน โดยเกษตรกรมักใส่ปุ๋ยที่เหลือจากนาข้าวและใส่เพียงเล็กน้อย รวมถึงประสบปัญหาโรคโคนเน่าของถั่วลิสง ทำให้ผลผลิตต่ำ ดังนั้นจึงนำชุดเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงที่เหมาะสมของกรมวิชาการเกษตร มาทดสอบและขยายผลสู่เครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่ภาคกลาง
เพื่อทดสอบชุดเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงหลังนาที่เหมะสมกับพื้นที่ภาคกลาง จึงทำแปลงทดสอบในจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดชัยนาท และจังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตสาคัญ จังหวัดละ 10 รายๆ ละ 2 ไร่จำนวน 3 ปี (ระหว่างปี 2562 - 2564) ใช้ถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 84-8 ในจังหวัดนครสวรรค์ และพันธุ์ขอนแก่น ในจังหวัดชัยนาทและสิงห์บุรี เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่เกษตรยอมรับและเป็นที่ต้องการของตลาด โดยทำแปลงเปรียบเทียบ 2 กรรมวิธีๆ ละ 1 ไร่ ในเกษตรกรแต่ละราย ได้แก่ กรรมวิธีเกษตรกร และกรรมวิธีทดสอบ (ตารางที่ 1) โดยการเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหาร และคำนวณปริมาณปุ๋ย เคมีสำหรับกรรมวิธีทดสอบ เพื่อนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง ในการยกระดับผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ