อนุกรมวิธานและการศึกษาชนิดของตั๊กแตน (Orthoptera)ในพืชไร่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย
#1
อนุกรมวิธานและการศึกษาชนิดของตั๊กแตน (Orthoptera) ในพืชไร่เศรษฐกิจที่สาคัญของประเทศไทย
จารุวัตถ์ แต้กุล, ยุวรินทร์ บุญทบ, สุนัดดา เชาวลิต, ชมัยพร บัวมาศ, อิทธิพล บรรณาการ, เกศสุดา สนศิริ, อาทิตย์ รักกสิกร, จอมสุรางค์ ดวงธิสาร และสิทธิศิโรดม แก้วสวัสดิ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          ปัจจุบันตั๊กแตนจัดเป็นแมลงศัตรูพืชที่กำลังสร้างปัญหาให้กับประเทศ ไม่ว่าในเรื่องของศัตรูพืชต่างถิ่น เช่น ตั๊กแตนไผ่ และศัตรูพืชที่กลับมาระบาดอีกครั้งซึ่ง ได้แก่ ตั๊กแตนข้าว อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับชนิดของตั๊กแตนอย่างจริงจังในปัจจุบัน วัตถุประสงค์ของการทดลองนี้ คือ เพื่อทราบชนิด ชื่อวิทยาศาสตร์ ลักษณะความแตกต่างทางสัณฐานวิทยา และได้แนวทางการวินิจฉัยชนิดของตั๊กแตนในพืชไร่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย จากการสำรวจและเก็บตัวอย่างตั๊กแตนในพื้นที่แปลงปลูกอ้อยอุตสาหกรรม แปลงวัชพืชและในเขตป่าใกล้เคียง ในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ได้ตัวอย่างตั๊กแตนมาเพื่อดำเนินการศึกษาเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 200 ตัวอย่าง จากการศึกษาตัวอย่างเดิมในพิพิธภัณฑ์แมลง ในขณะนี้มีชนิดของตั๊กแตนอย่างน้อย 10 ชนิดในตัวอย่างประมาณ 120 ตัวอย่าง และจากตัวอย่างที่เก็บได้ จากการศึกษาพบตั๊กแตนทั้งสิ้น 5 สกุล ได้แก่ Acrida Hieroglyphus, Patanga Ceracris และ Aiolopus ขณะนี้อยู่ในระหว่างการวินิจฉัยชนิดและดำเนินการเก็บตัวอย่างและการบันทึกฐานข้อมูลในพิพิธภัณฑ์แมลง นอกจากนี้ได้เก็บตัวอย่างตั๊กแตนตัวอ่อนที่มีชีวิตนำมำเลี้ยงในโรงเรือนเลี้ยงแมลง พิพิธภัณฑ์แมลง เพื่อศึกษาชีววิทยาและเก็บตัวเต็มวัย ขณะนี้ได้ตัวอย่างตั๊กแตนเพื่อจัดรูปร่างทั้งสิ้น 300 ตัวอย่าง และมีตัวอย่างที่เลี้ยงอยู่ 40 ตัวอย่างโดยประมาณ นำตัวอย่างที่จัดรูปร่างเข้าตู้อบเพื่อทำตัวอย่างแห้งโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน นอกจากนี้ดำเนินการนำตัวอย่างแห้งจากปีที่แล้ว มาศึกษาลักษณะทางอนุกรมวิธานและวินิจฉัยระดับวงศ์และสกุล


ไฟล์แนบ
.pdf   108_2561.pdf (ขนาด: 423.38 KB / ดาวน์โหลด: 3,335)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม