06-04-2019, 03:07 PM
วิจัยพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตข้าวฟ่าง
วิภาวรรณ กิติวัชระเจริญ, เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง, ศิริวรรณ อำพันฉาย, ยงศักดิ์ สุวรรณเสน, สุวัฒน์ พูลพาน, จุไรรัตน์ หวังเป็น และเอมอร เพชรทอง
สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบูรณ์, ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพัทลุง
วิภาวรรณ กิติวัชระเจริญ, เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง, ศิริวรรณ อำพันฉาย, ยงศักดิ์ สุวรรณเสน, สุวัฒน์ พูลพาน, จุไรรัตน์ หวังเป็น และเอมอร เพชรทอง
สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบูรณ์, ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพัทลุง
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่างหวานให้ได้ผลผลิตและคุณภาพสูง โดยนาสายพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกขั้นตอนการเปรียบเทียบพันธุ์เบื้องต้น จากจำนวน 7 คู่ผสม ในปี 2557-2558 (UT1xWray), (WrayxSP1), (WrayxUT10408),(WrayxBJ281),(WrayxThesis),(CowleyxBJ281) และ (WrayxCowley) เข้าสู่การเปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐานในปี 2559 - 2560 และดำเนินการเปรียบเทียบท้องถิ่นในปี 2561 ใน 4 สถานที่ ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบูรณ์ ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพัทลุง จำนวน 12 สายพันธุ์ และพันธุ์เปรียบเทียบ 3 พันธุ์ได้แก่ Cowley Wray และ Keller พบความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญด้านความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางลาต้น น้าหนักต้นสด ปริมาณน้ำคั้น และความหวาน มีความดีเด่นใกล้เคียงหรือสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ สาหรับการศึกษาช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมต่อคุณภาพของข้าวฟ่างหวานฤดูแล้ง พบว่าข้าวฟ่างหวานพันธุ์ Keller ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้ปริมาณน้ำคั้นสูงสุด เมื่อเทียบกับพันธุ์ Wray และ Cowley เฉลี่ย 7,466 ลิตรต่อไร่ และพบปฏิสัมพันธ์ของข้าวฟ่างหวานทั้ง 3 พันธุ์ในฤดูแล้ง โดยข้าวฟ่างหวานพันธุ์ Wray ที่ปลูกช่วงเดือนมีนาคม ให้ความหวานสูงสุดเฉลี่ย 18.9 องค์ศาบริกซ์ ส่วนการศึกษาศักยภาพการให้ผลผลิตและความคุ้มทุนของการผลิตข้าวฟ่างเมล็ดเปรียบเทียบส่วนการศึกษาถึงความคุ้มค่าของลงทุน การปลูกข้าวฟ่างเมล็ดตามหลังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เปรียบเทียบกับทานตะวันและถั่วเขียว ในช่วงปลายฤดูฝนของจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์ 3 ช่วงต้นฤดูฝนปี 2559 และปี 2560 และตามหลังด้วยการปลูกพืชที่ 2 จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ข้าวฟ่างเมล็ดพันธุ์สุพรรณบุรี 2 ทานตะวันพันธุ์เชียงใหม่ 1 และถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 84-1 พบว่า การปลูกพืชที่ 2 ตามหลังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปลายฤดูฝนของพืชทั้ง 3 ชนิด มีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยมีค่า B/C Ratio2.2 1.8 และ 1.9 แต่การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และตามหลังด้วยข้าวฟ่างเมล็ดในปี 2559 และปี 2560 มีต้นทุนการผลิตรวมต่าสุดเฉลี่ย 3,976 และ 4,036 บาทต่อไร่ ตามลำดับ และมีรายได้สุทธิเฉลี่ย 4,758 และ 4,869 บาทต่อไร่ ขณะที่การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตามด้วยถั่วเขียวมีต้นทุนการผลิตรวมสูงสุดเฉลี่ย 4,530 และ 4,847 บาทต่อไร่ ตามลำดับในส่วนของการรวบรวมข้าวฟ่างไม้กวาดจากแหล่งปลูกต่างๆ ระหว่างปี 2559 - 2560 พบว่า 4 จังหวัด 5 แหล่งปลูก ได้แก่ เชียงราย อุทัยธานี และพะเยา อย่างละ 1 แหล่ง และกำแพงเพชร 2 แหล่ง โดยนาเมล็ดพันธุ์จาก แต่ละแหล่งปลูกเปรียบเทียบ พบว่าข้าวฟ่างไม้กวาดจากทั้ง 5 แหล่ง ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันทางงสถิติโดยมีผลผลิตรวงสดที่ ตั้งแต่ 137 - 188 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ผลผลิตเมล็ดแตกต่างกันทางสถิติ โดย ข้าวฟ่างไม้กวาดจากแหล่งปลูก จังหวัดพะเยาให้ ผลผลิตเมล็ดสูงสุด เฉลี่ย 239 กรัมต่อไร่ แต่ทั้งผลผลิตรวงและผลผลิตเมล็ดของข้าวฟ่างไม้กวาดทั้ง 5 แหล่งปลูก ยังต่ำกว่าข้าวฟ่างไม้กวาด พันธุ์เคยูบี 1 และพันธุ์รวงเรียว 1 อย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่เกษตรกรเก็บไว้ใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต