05-31-2019, 09:51 AM
พัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลส้มโอพันธุ์หอมหาดใหญ่ในจังหวัดสงขลา
ศยามล แก้วบรรจง, สายสุรีย์ วงศ์วิชัยวัฒน์, ทรงเมท สังข์น้อย, ไชยา บุญเลิศ, นิพัฒน์ คงจินดามุนี, นพวรรณ นิลสุวรรณ, ภัทรา กิณเรศ และยุวดี ไชยสังข์
ศยามล แก้วบรรจง, สายสุรีย์ วงศ์วิชัยวัฒน์, ทรงเมท สังข์น้อย, ไชยา บุญเลิศ, นิพัฒน์ คงจินดามุนี, นพวรรณ นิลสุวรรณ, ภัทรา กิณเรศ และยุวดี ไชยสังข์
การผลิตส้มโอพันธุ์หอมหาดใหญ่ปัจจุบันพบว่า มีปัญหาต้นส้มทรุดโทรมและผลร่วงก่อนการเก็บเกี่ยวในพื้นที่ปลูกในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาหลายแห่ง อีกทั้งยังมีการทำลายของโรคและแมลงสูง ซึ่งถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ในระยะยาวอาจส่งผลต่อความเสียหายต่อผู้ผลิตและเศรษฐกิจในพื้นที่ ดังนั้นโครงการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลส้มโอพันธุ์หอมหาดใหญ่จึงมีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ เพื่อพัฒนาแปลงต้นแบบการปลูกสร้างสวนใหม่ส้มโอพันธุ์หอมหาดใหญ่ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่จังหวัดสงขลา และฟื้นฟูสวนเก่าให้สามารถเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตส้มโอพันธุ์หอมหาดใหญ่ในแปลงที่ให้ผลผลิตแล้ว
ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2560 ถึงเดือนกันยายน 2561 ประกอบด้วย 2 กิจกรรม คือ
กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาแปลงต้นแบบการปลูกสร้างสวนใหม่ส้มโอพันธุ์หอมหาดใหญ่ โดยการปลูกสร้างสวนใหม่ที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดสงขลา ดำเนินการในศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา พื้นที่ 5 ไร่ และแปลงเกษตรกร ในตาบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พื้นที่ 5 ไร่ ทั้งสองสถานที่ใช้ระยะปลูก 6 x 6 เมตร แปลงทดลองมีการติดตั้งระบบน้ำและการดูแลรักษาตามหลักวิชาการ ทำการเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณอินทรียวัตถุและปริมาณธาตุอาหารในดินและการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน คือ ทั้งสองสถานที่ทดลองใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 5 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน สูตร 46-0-0 , 18-46-0 และ 0-0-60 อัตรา 220-15-30 กรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่จานวน 2 ครั้ง คือ เดือนมกราคม 2561 และมิถุนายน 2561 ทำการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของต้นด้านความสูง รัศมีทรงพุ่ม และขนาดเส้นรอบวงลาต้น และสังเกตการณ์เข้าทำลายของโรคและแมลงในระหว่างการทดลอง
ผลการศึกษากิจกรรมที่ 1 พบว่าปริมาณอินทรียวัตถุและปริมาณธาตุอาหารในดินก่อนการทดลอง ในแปลงศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลาพบว่ามีปริมาณอินทรียวัตถุเท่ากับ 0.73 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัส 4.07 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ 10.74 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ขณะที่แปลงของเกษตรกรพบว่า มีปริมาณอินทรียวัตถุเท่ากับ 1.78 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัส 5.25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ 49.90 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนการเจริญเติบโตของต้น พบว่าแปลงศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา มีค่าเฉลี่ยของความสูง รัศมีทรงพุ่ม และขนาดเส้นรอบวงลำต้น เท่ากับ 150.80, 137.40 และ 10.36 เซนติเมตร ตามลำดับ ส่วนแปลงเกษตรกรมีค่าเฉลี่ยของความสูง รัศมีทรงพุ่ม และขนาดเส้นรอบวงลำต้น เท่ากับ 153.50, 175.90 และ 10.36 เซนติเมตร ตามลำดับ ขณะที่การทำลายของโรคและแมลง พบการทำลายของหนอนชอนใบส้มทั้งสองแปลง โดยแปลงศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา มีระดับความรุนแรงเฉลี่ย 32.00 และแปลงเกษตรกรมีระดับความรุนแรงเฉลี่ย 34.50
ผลการศึกษากิจกรรมที่ 2 พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุเฉลี่ย 0.70 - 1.99 เปอร์เซ็นต์ ต่ำกว่าค่ามาตรฐาน ทั้ง 10 แปลง ปริมาณฟอสฟอรัสเฉลี่ย 1.79 - 93.51 มิลลิกรัมกรัมต่อกิโลกรัม ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 5 แปลง ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์เฉลี่ย 21.15 - 80.23 มิลลิกรัมกรัมต่อกิโลกรัม ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 7 แปลง สำหรับปริมาณแคลเซียมต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เฉลี่ย 0.62 - 2.52 เซนติโมลของประจุต่อกิโลกรัมของดิน และปริมาณแมกนีเซียม เฉลี่ย 0.21 - 2.30 เซนติโมลของประจุต่อกิโลกรัมของดิน อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าค่ามาตรฐานทั้ง 10 แปลง จากการเปรียบเทียบการจัดการธาตุอาหารโดยการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและการใส่ปุ๋ยตามกรรมวิธีของเกษตรกร พบว่า ผลผลิตส้มโอมีน้าหนักผล ความกว้างผล ความสูงผล และความหนาเปลือกผล ไม่มีความแตกต่างกัน แต่กรรมวิธีการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินมีค่าน้ำหนักของเนื้อผลสูงกว่าการจัดการปุ๋ยตามกรรมวิธีของเกษตรกร เฉลี่ยเท่ากับ 543.30 กรัม และ 538.80 กรัม ส่วนลักษณะทางเคมีผลส้มโอ พบว่าปริมาณของแข็งที่ละลายในน้าได้และปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ 17.70 องศาบริกซ์ และ 1.00 เปอร์เซ็นต์ ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และพบว่าสัดส่วนปริมาณของแข็งที่ละลายในน้าได้ต่อปริมาณกรดที่ไทเทรตในกรรมวิธีการจัดการปุ๋ยยตามค่าวิเคราะห์ดินมีค่าสูงกว่าการจัดการปุ๋ยตามกรรมวิธีของเกษตรกร เฉลี่ยเท่ากับ 33.60 และ 31.40 และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ สำหรับการทำลายของโรคและแมลง พบว่าวิธีการจัดการโรคและแมลงโดยใช้วิธีผสมผสานสามารถลดการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้ร้อยละ 8 - 10
จากการศึกษานี้โดยภาพรวมพบว่า การจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผลส้มโอ และมีแนวโน้มว่าการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเป็นที่ยอมรับของเกษตรกร ดังนั้นกรรมวิธีนี้จึงสามารถใช้แนะนาเกษตรกรที่ปลูกส้มโอพันธุ์หอมหาดใหญ่ในพื้นที่ได้ แต่ควรมีการส่งเสริมเทคโนโลยีการจัดการศัตรูส้มโอพันธุ์หอมหาดใหญ่แบบผสมผสานควบคู่ไปด้วย เช่น การสารกำจัดศัตรูพืชเป็นประจำ การห่อผล การป้องกันกำจัดศัตรูโดยวิธีกลและเขตกรรม และการพ่นสารกำจัดศัตรูพืชเมื่อจำเป็นโดยคัดเลือกสารที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยต่อศัตรูธรรมชาติ ผู้ใช้ ตลอดจนผู้บริโภค