ประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันชอนใบในถั่วฝักยาว
#1
ประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันชอนใบในถั่วฝักยาว
พวงผกา อ่างมณี, สมศักดิ์ ศิริพลตั้งมั่น, บุษบง มนัสมั่นคง, ธีราทัย บุญญะประภา และวรางคณา โชติเศรษฐี
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันชอนใบในถั่วฝักยาว ดำเนินการทดลองที่แปลงถั่วฝักยาวของเกษตรกร อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ระหว่างเดือนมีนาคม - กันยายน 2560 วางแผนการทดลองแบบ Randomized complete block (RCB) 4 ซ้ำ 8 กรรมวิธี ดังนี้ พ่นสาร etofenprox 20% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร emamectin benzoate 1.92% EC อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร fipronil 5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร deltamethrin 3% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร carbosulfan 20% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร dinotefuran 10% WP อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร tolfenpyrad 16% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร เปรียบเทียบกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร เริ่มดำเนินการทดลองครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2560 ที่แปลงของเกษตรกรอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ไม่สามารถดำเนินการทดลองได้เนื่องจากพบการระบาดของหนอนชอนใบต่ำ และไม่สม่ำเสมอทั้งแปลงเริ่มดำเนินการครั้งที่ 2 ในเดือนมิถุนายน ในแปลงถั่วฝักยาวของเกษตรกรอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อถั่วฝักยาวอายุ 16 วัน ทำการระบาดเทียม โดยใช้ดักแด้ของหนอนแมลงวันชอนใบมาปล่อยในแปลงถั่วฝักยาว 1 ครั้ง/สัปดาห์ จำนวน 3 ครั้ง จากนั้นทำการประเมินการทำลายของหนอนแมลงวันชอนใบในแปลงก่อนพ่นสารทดลอง พบจำนวนใบที่ถูกทำลายเฉลี่ยไม่ถึง 10% (ตารางที่ 1) จึงเริ่มดำเนินการครั้งที่ 3 ในเดือนกันยายน ในแปลงถั่วของเกษตรกรอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เริ่มพบหนอนแมลงวันชอนใบลงทำลาย ได้ทำการประเมินการทำลายเพื่อทำการทดสอบประสิทธิภาพต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   206_2560.pdf (ขนาด: 179.23 KB / ดาวน์โหลด: 1,281)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม