01-17-2019, 10:27 AM
การสังเคราะห์เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีในหน่อไม้ฝรั่ง
สมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี, ภัทรพร สรรพนุเคราะห์, สาทิพย์ มาลี, รจนา ไวยเจริญ, นันทนัช พินศรี, อิศเรส เทียนทัด, สุชลวัจน์ ว่องไวลิขิต, สมศักดิ์ ศิริพลตั้งมั่น และเสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
สมชัย สุวงศ์ศักดิ์ศรี, ภัทรพร สรรพนุเคราะห์, สาทิพย์ มาลี, รจนา ไวยเจริญ, นันทนัช พินศรี, อิศเรส เทียนทัด, สุชลวัจน์ ว่องไวลิขิต, สมศักดิ์ ศิริพลตั้งมั่น และเสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การสังเคราะห์เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธีในหน่อไม้ฝรั่ง โดยสำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรที่จังหวัดนครปฐมและจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 50 ตัวอย่าง พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 52 เพศชายร้อยละ 48 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 51 ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 34 รองลงมาเป็นผู้มีอายุ 41 - 50, 31 - 40 และน้อยกว่า 30 ปี ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 32, 22 และ 12 ตามลำดับ มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4.6 คน โดยใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก รายได้หลักส่วนใหญ่ได้จากหน่อไม้ฝรั่ง เกษตรกรมีความเข้าใจการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูหน่อไม้ฝรั่งโดยชีววิธีในระดับปานกลาง เคยนำวิธีป้องป้องกันกำจัดแมลงศัตรูหน่อไม้ฝรั่งโดยชีววิธีมาใช้ในแปลงของตนเองในระดับปานกลาง การได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูหน่อไม้ฝรั่งโดยชีววิธีจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในระดับปานกลางถึงมาก และคิดว่าการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูหน่อไม้ฝรั่งโดยชีววิธีจะช่วยเพิ่มราคาผลผลิตให้ดีขึ้นในระดับปานกลาง การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูหน่อไม้ฝรั่งโดยชีววิธีจะช่วยในการลดต้นทุนการผลิตในระดับปานกลางถึงมาก การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูหน่อไม้ฝรั่งโดยชีววิธีมีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงศัตรูพืชอย่างยั่งยืนในระดับปานกลางถึงมากที่สุด ผลผลิตจากการปลูกหน่อไม้ฝรั่งที่ใช้วิธีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชชีววิธีดีกว่าวิธีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชอย่างเดียวในระดับปานกลางถึงมากที่สุด โครงการการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูหน่อไม้ฝรั่งโดยชีววิธีสอดคล้องตามความต้องการและความคาดหวังของเกษตรกรในระดับปานกลาง โดยสรุปเกษตรกรมีความพึงพอใจมากน้อยเพียงใดในการดำเนินงานตามโครงการการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูหน่อไม้ฝรั่งโดยชีววิธีของภาครัฐในระดับปานกลาง
การศึกษาการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูหน่อไม้ฝรั่งในแปลงเกษตรกร ที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมจำนวน 2 แปลง และที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 3 แปลง ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 - กันยายน 2559 โดยในแต่ละแปลงแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน แปลงละ 1 ไร่ ส่วนแรกเกษตรกรเป็นผู้ดำเนินการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูหน่อไม้ฝรั่งด้วยวิธีที่ตนเอง ส่วนที่เหลือดำเนินการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูหน่อไม้ฝรั่งโดยชีววิธีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ผลการศึกษาพบว่าทั้ง 2 แปลงมีการระบาดของแมลงไม่แตกต่างกัน โดยพบการระบาดของเพลี้ยไฟเกินระดับเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาพบการทำลายของหนอนกระทู้หอม หนอนบุ้ง ตามลำดับ ในแปลงเกษตรกรมีการใช้สารฆ่าแมลง 3 ชนิด จำนวน 10 - 14 ครั้ง อัตราการพ่นสาร 80 - 120 ลิตรต่อไร่ ส่วนแปลงชีววิธีมีการใช้น้ำสบู่เพื่อกำจัดเพลี้ยไฟ ปล่อยแตนเบียนไข่ Trichogramma sp. และมวนพิฆาต โดยพ่นน้ำสบู่เฉลี่ย 12 ครั้งตลอดฤดู และปล่อยแตนเบียไข่และมวนพิฆาต 4 ครั้งตลอดฤดู พบว่ามีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงศัตรูพืชไม่แตกต่างจากวิธีที่เกษตรกรปฏิบัติ
การศึกษาการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูหน่อไม้ฝรั่งในแปลงเกษตรกร ที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมจำนวน 2 แปลง และที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 3 แปลง ระหว่างเดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนกันยายน 2560 โดยในแต่ละแปลงแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน แปลงละ 1 ไร่ ส่วนแรกเกษตรกรเป็นผู้ดำเนินการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูหน่อไม้ฝรั่งด้วยวิธีที่ตนเอง ส่วนที่เหลือดำเนินการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูหน่อไม้ฝรั่งโดยชีววิธีของกรมวิชาการเกษตร ผลการศึกษานี้ ในแปลงชีววิธีมีการใช้น้ำสบู่กำจัดแมลงปากดูด ได้แก่ เพลี้ยไฟและแมลงหวี่ขาว เนื่องจากไม่สามารถหาชีวภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการกำจัดเพลี้ยไฟ ส่วนหนอนผีเสื้อชนิดต่างๆใช้แบคทีเรียบีทีมป้องกันกำจัด รวมการใช้ปัจจัยกำจัดแมลงศัตรูพืชตลอดฤดูรวม 12 ครั้ง (11 สัปดาห์) ส่วนแปลงที่เกษตรกรดูแลด้วยตนเองมีการใช้สาร Abmectin, Fipronil กำจัดเพลี้ยไฟ และใช้ Chlorfluazuron กับน้ำสกัดสมุนไพรที่ผลิตในชุมชนกำจัดหนอนผีเสื้อ รวม 15 ครั้งตลอดฤดู ปริมาณการระบาดของแมลงทั้งสองจังหวัดมีความแตกต่างกัน โดยแปลงทดสอบในจังหวัดกาญจนบุรีมีการระบาดของแมลงปากดูด ได้แก่ เพลี้ยไฟและแมลงหวี่ขาว อย่างรุนแรง ซึ่งในแปลงชีววิธีพบปริมาณเพลี้ยไฟและแมลงหวี่ขาวเฉลี่ยตลอดฤดูเท่ากับ 5.60 และ 7.86 ตัวต่อกอ ตามลำดับ ไม่แตกต่างจากแปลงที่เกษตรกรดูแลเองที่พบมีปริมาณเพลี้ยไฟและแมลงหวี่ขาวเฉลี่ยตลอดฤดูเท่ากับ 5.12 และ 5.37 ตัวต่อกอ ตามลำดับ ผลผลิตที่ได้ค่อนข้างต่ำ โดยแปลงชีววิธีได้ผลผลิต เฉลี่ย 10.3 กก.ต่อไร่ ส่วนแปลงเกษตรกรได้ผลผลิตเฉลี่ย 15.1 กก.ต่อไร่ เนื่องจากเกษตรกรขาดการดูแลและไม่ป้องกันกำจัดตามระยะเวลาที่กำหนด ทำให้สภาพการระบาดรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมระดับการระบาดของแมลงให้อยู่ในปริมาณที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายได้ ส่วนแปลงในอำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐม มีการระบาดของแมลงปากดูด ได้แก่ เพลี้ยไฟและแมลงหวี่ขาวอย่างรุนแรงเช่นเดียวกัน โดยในแปลงชีววิธีพบปริมาณเพลี้ยไฟและแมลงหวี่ขาวเฉลี่ยตลอดฤดูเท่ากับ 3.32 และ 0.04 ตัวต่อกอ ตามลำดับ แตกต่างจากแปลงที่เกษตรกรดูแลด้วยตนเอง พบว่ามีปริมาณเพลี้ยไฟและแมลงหวี่ขาวเฉลี่ยตลอดฤดูสูงกว่าเท่ากับ 5.83 และ 0.06 ตัวต่อกอ ตามลำดับ ผลผลิตที่ได้สูงกว่าแปลงในจังหวัดกาญจนบุรีอย่างชัดเจนโดยแปลงชีววิธีได้ผลผลิตเฉลี่ย 188.2 กก.ต่อไร่ ส่วนแปลงเกษตรกรได้ผลผลิตเฉลี่ย 149.0 กก.ต่อไร่