การศึกษากลไกควบคุมการทำงานของยีนสังเคราะห์เอนไซม์ PPO ต่อการเกิดอาการไส้สีน้ำตาล
#1
การศึกษากลไกควบคุมการทำงานของยีนสังเคราะห์เอนไซม์ PPO ต่อการเกิดอาการไส้สีน้ำตาลในสับปะรดผลสดพันธุ์ตราดสีทองโดยเทคนิค Antisense Gene Knockdown
พงศกร สรรค์วิทยากุล, วรางคณา มากกำไร, วีรา คล้ายพุก, หยกทิพย์ สุดารีย และอุทัยวรรณ ทรัพย์แก้ว
ส้านักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ และสถาบันวิจัยพืชสวน

          ปัญหาสำคัญที่เกิดกับผลสับปะรดผลสดเกิดขึ้นในระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำเป็นเวลานาน เช่น การขนส่งทางเรือหรือห้องเย็น ทำให้เกิดอาการไส้สีน้ำตาล ทำให้เกิดปัญหาเรื่องราคาและคุณภาพซึ่งต้องแข่งขันกับประเทศอื่น สับปะรดพันธุ์ตราดสีทอง มีคุณสมบัติที่ดี ทั้งเรื่องรสชาติและสีสันแต่มีปัญหาเรื่องไส้สีน้ำตาลที่เกิดขึ้นระหว่างการขนส่งรุนแรงมาก หากว่าสามารถแก้ในเรื่องอาการไส้สีน้ำตาลได้จะช่วยส่งเสริมการส่งออกให้เกษตรกรและผู้ประกอบการสามารถขยายตลาดการส่งออกและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ในงานวิจัยนี้เป็นการทดลองโคลนชิ้นยีน PPO1 และ PPO2 จากสับปะรดพันธุ์ตราดสีทองแล้วตัดต่อเข้าสู่เวคเตอร์ pRNAi-GG และถ่ายเวคเตอร์ที่ได้รับการตัดต่อแล้วทั้ง 2 ชนิด เข้าสู่อะโกรแบคทีเรียมชนิด AGL1 ได้ Transformant 2 ชนิด ซึ่งพร้อมสำหรับใช้ถ่ายยีนเพื่อสร้างระบบ Silencing ยีน PPO1/2 คือ AGL1 PPO1_RNAi-GG และ AGL1 PPO2_RNAi-GG นำ Transfomant ทั้ง 2 ชนิด Inoculate แบบฉีดโดยตรงเข้าสู่ผลสับปะรดพันธุ์ตราดสีทองที่พร้อมเก็บเกี่ยวส่งขาย บ่มเชื้อไว้ 1 คืน ที่ 28 องศาเซลเซียส จากนั้นเก็บผลสับปะรดที่คาดว่าได้รับการถ่ายยีนแล้วเข้าห้องเย็น 15 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 สัปดาห์ – 3 สัปดาห์ พบว่าผลสับปะรดที่ได้รับการ Inoculate แบบฉีดโดยตรงโดย AGL1 PPO2_RNAi-GG มีอาการไส้สีน้ำตาลลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ดีผลสับปะรดที่ได้รับการ Inoculate แบบฉีดโดยตรงโดย AGL1 PPO1_RNAi-GG เกิดอาการไส้สีน้ำตาลเช่นเดียวกับกลุ่มควบคุมโดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ จึงสามารถสรุปได้ได้ว่ายีน PPO2 อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการไส้สีน้ำตาลที่รุนแรงในสับปะรดพันธุ์ตราดสีทองและสามารถวิจัยและพัฒนาต่อเพื่อปรับปรุงพันธุ์สับปะรดพันธุ์ตาดสีทองต่อไปได้


ไฟล์แนบ
.pdf   34_2560.pdf (ขนาด: 1.11 MB / ดาวน์โหลด: 1,172)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม