11-02-2015, 03:51 PM
ผลของสารพาราควอทต่อการเปลี่ยนแปลงประชากรวัชพืช
จรัญญา ปิ่นสุภา, คมสัน นครศรี และจรรยา มณีโชติ
กลุ่มวิจัยวัชพืช, กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
จรัญญา ปิ่นสุภา, คมสัน นครศรี และจรรยา มณีโชติ
กลุ่มวิจัยวัชพืช, กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ศึกษาการใช้สารกำจัดวัชพืช paraquat ในสวนปาล์มน้ำมันที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวัชพืช ดำเนินการทดลองจำนวน 2 แปลง ที่อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด และอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ 9 กรรมวิธีประกอบด้วย
1) กรรมวิธีพ่นสารกำจัดวัชพืช paraquat อัตรา 120 กรัม สารออกฤทธิ์/ไร่ 2 ครั้ง/ปี
2) กรรมวิธีพ่นสารกำจัดวัชพืช paraquat อัตรา 240 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ 2 ครั้ง/ปี
3) กรรมวิธีพ่นสารกำจัดวัชพืช paraquat อัตรา 120 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ 3 ครั้ง/ปี
4) กรรมวิธีพ่นสารกำจัดวัชพืช paraquat อัตรา 240 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ 3 ครั้ง/ปี
5) กรรมวิธีพ่นสารกำจัดวัชพืช paraquat อัตรา 120 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ 1 ครั้ง/ปี ร่วมกับตัดหญ้า 1 ครั้ง/ปี
6) กรรมวิธีพ่นสารกำจัดวัชพืช paraquat อัตรา 240 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ 1 ครั้ง/ปี ร่วมกับ ตัดหญ้า 1 ครั้ง/ปี
7) กรรมวิธีพ่นสารกำจัดวัชพืช paraquat อัตรา 120 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ 2 ครั้ง/ปี ร่วมกับ ตัดหญ้า 2 ครั้ง/ปี
8) กรรมวิธีพ่นสารกำจัดวัชพืช paraquat อัตรา 240 กรัม สารออกฤทธิ์/ไร่ 2 ครั้ง/ปี ร่วมกับ ตัดหญ้า 2 ครั้ง/ปี
9)กรรมวิธีการตัดหญ้า 3 ครั้ง/ปี เป็นแปลงเปรียบเทียบ
ผลการทดลองพบว่า ในแปลงทดลองที่อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด พบวัชพืชใบแคบมีมากกว่าวัชพืชใบกว้างและกกในกรรมวิธีที่มีการพ่นสารกำจัดวัชพืช paraquat อัตรา 120 และ 240 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ 3 ครั้ง/ปี แต่เมื่อศึกษาความคล้ายคลึงกันของประชากรวัชพืชสองกลุ่มระหว่างกรรมวิธีในการทดลองกับกรรมวิธีการตัดหญ้า 3 ครั้ง/ปี ไม่พบการเปลี่ยนแปลงประชากรของวัชพืชมีค่า community coefficient อยู่ระหว่าง 76.01-81.29 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในแปลงทดลองที่อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี พบวัชพืชใบแคบและกกมากว่าใบกว้างในกรรมวิธีการพ่นสารกำจัดวัชพืช paraquat อัตรา 240 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ 3 ครั้ง มีค่า CC 65 เปอร์เซ็นต์ ความคล้ายคลึงกันของประชากรวัชพืชอยู่ในระดับปานกลางกับกรรมวิธีตัดหญ้า 3 ครั้ง/ปี เป็นระดับที่ยังยอมรับได้ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงประชากรวัชพืช