02-08-2017, 04:07 PM
ศึกษาการป้องกันกำจัดทาก Parmarion siamensis ในสวนกล้วยไม้
ปิยาณี หนูกาฬ, สมเกียรติ กล้าแข็ง, เกรียงศักดิ์ หามะฤทธิ์, ปราสาททอง พรหมเกิด และทรงทัพ แก้วตา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ปิยาณี หนูกาฬ, สมเกียรติ กล้าแข็ง, เกรียงศักดิ์ หามะฤทธิ์, ปราสาททอง พรหมเกิด และทรงทัพ แก้วตา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ศึกษาการป้องกันกำจัดทาก Parmarion siamensis ในสวนกล้วยไม้ โดยศึกษาประสิทธิภาพสารกำจัดหอยที่นำมาใช้ในการกำจัดทาก P. siamensis ทั้งในห้องปฏิบัติการและในสวนกล้วยไม้ โดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 ขั้นตอน คือ การเลี้ยงทาก P. Siamensis ในห้องปฏิบัติการเป็นการสำรวจหาแปลงเกษตรกรที่มีการระบาด เก็บตัวอย่างทาก มาเลี้ยงขยายพันธุ์ในห้องปฏิบัติการ การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดหอยที่นำมาใช้ในการกำจัดทาก P. siamensis ในห้องปฏิบัติการนั้นเป็นการใช้สารกำจัดหอย 2 ชนิด คือ niclosamide-olamine 83.1%WP เป็นผงละลายตามอัตราที่กำหนดแล้วพ่นใส่ในกล่องเลี้ยงทากให้ทั่ว และเหยื่อเม็ดสำเร็จรูป metaldehyde 5%GB ใช้หว่านหรือวางกองไว้เป็นจุดๆให้ทากกิน วางแผนการทดลองแบบ CRD 6 ซ้ำ 7 กรรมวิธี พบว่าเมื่อเวลาผ่านไป 6 ชั่วโมง niclosamide-olamine 83.1%WP ทุกอัตราทำให้ทากตายและเมื่อเวลาผ่านไป 12 ชั่วโมง ทากตาย 100% ส่วน metaldehyde 5%GB เมื่อเวลาผ่านไป 12 ชั่วโมง พบทากบางตัวเริ่มหยุดนิ่งอยู่รอบๆกองเหยื่อและค่อยๆตาย เมื่อเวลาผ่านไป 24 ชั่วโมง ทากตายประมาณ 93.3% แต่ละอัตราไม่มีความแตกต่าง การตายขึ้นอยู่กับปริมาณของเหยื่อเม็ดที่ทากแต่ละตัวกินเข้าไป ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณของเหยื่อเม็ดที่วางให้ทากกิน และการทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดหอยที่นำมาใช้ในการกำจัดทาก P. Siamensis ในแปลงกล้วยไม้ วางแผนการทดลองแบบ CRD 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ผลการทดสอบ niclosamide-olamine 83.1%WP สุ่มนับทากก่อนฉีดพ่นสารพบทากเฉลี่ย 216 ตัว เมื่อผ่านไป 24 ชั่วโมง ทากตายเฉลี่ย 194 ตัว ประมาณ 89.81% ส่วน metaldehyde 5%GB สุ่มนับทากเมื่อเริ่มวางเหยื่อพบทากเฉลี่ย 252 ตัว เมื่อผ่านไป 24 ชั่วโมง ทากตายเฉลี่ย 128 ตัว ประมาณ 50.79%