การสร้างประชากรพันธุ์ทานตะวันชนิดสกัดน้ำมัน
#1
การสร้างประชากรพันธุ์ทานตะวันชนิดสกัดน้ำมัน
ศิริวรรณ อำพันฉาย, เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง, รัฐพล ชูยอด, ธำรง เชื้อกิตติศักดิ์, สายสุนีย์ รังสิปิยกุล, สมใจ โควสุรัตน์, จุไรรัตน์ หวังเป็น, สมหมาย วังทอง, สมพงษ์ ชมภูนุกูลรัตน์ และเสาวรี บำรุง 
ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์ และศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี

          ทำการสร้างประชากรพันธุ์ทานตะวันชนิดสกัดน้ำมัน โดยการนำเมล็ดทานตะวันที่ได้จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีจำนวน 6 พันธุ์ พันธุ์การค้าจำนวน 6 พันธุ์ และพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตร 1 พันธุ์ ทั้งหมด 13 พันธุ์ โดยนำเมล็ดพันธุ์ที่รวบรวมได้พันธุ์ละ 50 เมล็ด มาคลุกเคล้ารวมกันปลูกจำนวน 1 เมล็ดต่อหลุม ปล่อยให้มีการผสมเกสรตามธรรมชาติ และรวบรวมผลผลิตจากทุกต้นเรียกว่า การผสมรวม และทำการคัดเลือกทั้งหมด 5 ครั้ง พบว่าจากการปลูกเมล็ดผสมรวมครั้งที่ 1 ข้อมูล เส้นผ่าศูนย์กลางจานดอก 14.8 เซนติเมตร น้ำหนักเมล็ดต่อจานดอก 24.9 กรัม และเปอร์เซ็นต์น้ำมัน 33.5 ข้อมูลการผสมรวมครั้งที่ 2 คือ เส้นผ่าศูนย์กลางจานดอก 17.1 เซนติเมตร น้ำหนักเมล็ดต่อจานดอก 18.5 กรัม และเปอร์เซ็นต์น้ำมัน 38.4 ข้อมูลการผสมรวมครั้งที่ 3 คือ เส้นผ่าศูนย์กลางจานดอก 18.4 เซนติเมตร น้ำหนักเมล็ดต่อจานดอก 20.5 กรัม และเปอร์เซ็นต์น้ำมัน 37.3 และข้อมูลการผสมรวมครั้งที่ 4 คือ เส้นผ่าศูนย์กลางจานดอก 10.2 เซนติเมตร น้ำหนักเมล็ดต่อจานดอก 5.4 กรัม และเปอร์เซ็นต์น้ำมัน 40.1 การผสมรวมรอบที่ 5 คัดเลือกต้นได้จำนวน 344 ต้น พบว่ามีค่าเฉลี่ยความสูงต้น 135 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางจานดอกเฉลี่ย 15.4 เซนติเมตร น้ำหนักเมล็ด/จานดอก 53.4 กรัม  น้ำหนักเมล็ดดี 50.8 กรัม น้ำหนัก 100 เมล็ดหนัก 6.8 กรัม จากการผสมรวมทั้ง 5 ครั้ง ทำให้ได้ประชากรทานตะวันชนิดสกัดน้ำมัน สำหรับใช้เป็นฐานพันธุกรรมในการคัดเลือกพันธุ์ทานตะวันชนิดสกัดน้ำมันต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   133_2557.pdf (ขนาด: 167.19 KB / ดาวน์โหลด: 437)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม